ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010
สุ สุตะแน่นิ่ง ฟังความ จิ จิตไตร่ตรองตาม แจ่มได้ ปุ ปุจฉ์ทบทวนถาม ข้อติดขัดนา ลิ ลิขิตเขียนไว้ แน่แท้เมธี

พระอุโบสถวัดใหม่ทองเสน

เวรกรรม

กรรม 12 ประเภท กรรมประเภทที่ 1                       กิจจจตุกกะ คือ ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยหน้าที่ 1.1 ชนกกรรม                                       กรรมที่ทำหน้าที่ยังวิบากให้เกิดขึ้น 1.2 อุปัตถัมภกกรรม            กรรมที่ทำหน้าที่อุปถัมภ์ค้ำชูกรรมอื่น 1.3 อุปปีฬกกรรม             กรรมที่ทำหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่น 1.4 อุปฆาตกกรรม/อุปัจเฉทกกรรม     กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปฆ่าหรือเข้าไปตัดรอนกรรมอื่น กรรมประเภทที่ 2              ปากทานปริยายจตุกกะ คือ ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยลำดับการให้ผล 2.1 ครุกรรม                          กรรมหนักซึ่งมีอำนาจให้ผลเป็นอันดับ 1 2.2 อาสันนกรรม                  กรรมที่กระทำในเวลาใกล้จะตาย 2.3 อาจิณณกรรม/พหุลกรรม     กรรมที่กระทำบ่อยๆ    2.4 กตัตตากรรม              กรรมที่สักแต่ว่ากระทำ กรรมประเภทที่ 3                       ปากกาลจตกกะ คือ ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยกาลเวลาที่ให้ผล 3.1 ทิฐธรรมเวทนียกรรม        กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันคือให้ผลในชาตินี้ 3.2 อุปปัชชเวทนียกรรม        กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า 3.3 อปราปริยเวทนียกรรม                    

มอบทุนการศึกษาครับ

เป็นรุ่นพี่ไม่ได้รับกะเข้าเลย แต่ดีนะได้เป็นมือกล้อง

ปรัชญากินไม่ได้

มีคำกล่าวของนักวิพากษ์วิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า   Philosophy bakes no bread . ( ปรัชญากินไม่ได้) คำตอบของวิชาปรัชญาต่อคำกล่าวนั้นมีอยู่ว่า ที่มนุษย์กินอยู่ทุกวันนี้ ควรถามตนเองด้วยว่า “ กิน ” ไปเพื่ออะไร ถ้าตอบว่ากินเพื่อความอยู่รอด ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า “ จะอยู่ไปเพื่ออะไร ” คำถามข้างต้นสะท้อนถึงวิถีและบทบาทแห่งปรัชญา เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนความเข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร และชีวิตที่ดีคืออะไรด้วย แม้ปรัชญาจะ “ กิน ” ไม่ได้ แต่ปรัชญาช่วยให้มนุษย์ได้ตริตรองถึงชีวิตของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจว่า จะกินไปเพื่ออะไร และอาจส่งผลต่อแนวทางการดำรงชีวิต ซึ่งหมายถึงจะ “ กิน ” อย่างไรด้วย ปรัชญา คือ กิจกรรมทางปัญญาหรือการสร้างระบบความคิดเพื่อการแสวงหาคำอธิบายให้กับคำถามที่เป็นพื้นฐานที่สุดของชีวิต เช่น จุดประสงค์ของชีวิตคืออะไร พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ เราจะแยก “ ถูก ” กับ “ ผิด ” ออกจากกันได้อย่างไร สิ่งที่เรากระทำเป็นไปโดยอิสระของตัวเอง หรือเป็นเพราะโชคชะตาลิขิต เป็นต้น