ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เส้นทางชีวิตของพระธรรมทูต ในต่างประเทศ

ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง ขนาดคนเคยรักชอบพอกัน ปัจจุบันยังเปลี่ยนเป็นอื่นได้   ก็นั่นแหละครับท่านผู้อ่าน ในฐานะพระรูปหนึ่งซึ่งชีวิตก็น่าสงสาร หรือไม่ก็ควรที่ทุกท่านน่าจะให้ความเห็นอกเห็นใจบ้าง  ตัวฉันนั้นเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกินพูดตรงๆไม่อยากจะอวดโอ้  ฉันนั้นก็เหมือนกับหลายๆท่าน ก็มีอาหารการกินสามมื้อ มิได้จะอดอยากเสียเมือไหร่  ฉันนั้นเกิดเป็นลูกอีสานเขียว ข้าวเหนียวปั้น มีพี่น้องร่วมสายเลือดอยู่แค่สองคน เด็กๆตัวเล็กๆเป็นที่รักของตายาย .ได้เงินไปโรงเรียนวันละสองบาทเดาๆเอาก็คงพอรู้อายุอานาม เรียนจบป.๖ ชีวิติเหมือนมีใครขีดเส้นทางเดิน มีโฆษณา ติดต่อเรื่องบวชเรียนเขียนอ่าน เด็กหลายคนกรอกใบสมัคร..ส่วนฉันนั้นไม่ใยดีแต่อย่างใดก็ชะตาเขาว่าฟ้านั้นลิขิต มีบ้านติดกับบ้านของผู้ใหญ่บ้าน...พ่อแม่ปู่ย่า ตายายทราบเรื่องเข้าว่ามีโครงการบวชเรียน  จึงส่งตัวฉันนะไปประจำการอยู่ที่วัดกะเพื่อนๆทางบ้านข่อยเขาเรียกว่าให้ไปเป็งสังกะลี(ลูกศิษย์วัด)เพื่อให้ได้ท่องบ่นคำบวช  หลังจากนั้นไม่นานนักเจ้าหน้าที่ก็มารับฉันกะพวกเข้าสู่ตัวเมือง จุดมุ่งหมายคือวัดแสงเกษม  อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี...
    อาตมาภาพเมื่อเข้ามาบวช..มีชีวิตอยู่ภายใต้ร่มเงาพระศาสนา..ตั้งแต่อายุได้ 12 ปี.ได้เริ่มเรียนธรรมะวินัย คือนักธรรมชั้นตรี โท เอก.กว่าจะเรียนจนถึงสามขั้นอายุก็ย่างเข้า สิบหกปีเสียแล้ว สืบเนื่องจากว่า อาตมาเรียนควบคู่หลายอย่าง ทั้งเรียนนักธรรมควบคู่กับวิชาภาษาบาลีและเรียนภาคปริยัติธรรมสามัญ ชั้นมัธยม ที่เรียนเกี่ยวกับ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ พร้องทั้งวิชาธรรมะต่างๆควบคู่ไปด้วย.จึงไม่ค่อยมีความชำนาญในหลักวิชาการด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ..ครั้งที่เป็นสามเณรนั้นก็ได้จำพรรษาอยู่หลายวัดด้วยกันคือ วัดแสงเกษม วัดเวียงเกษม และวัดแจ้งสว่าง ต่อมาก็ได้ย้ายกลับมาประจำที่วัดแสงเกษมอีกครั้ง.จนกระทั้งได้ย้ายมาเรียนต่อ ม.6 ที่ โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มจร. หลังจากเรียนจบ ก็เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ มมร. มหามกุฎราชวิยาลัย ในชั่นปีแรกที่เข้าเรียน ได้ไปอาศัยห้องเรียนที่วัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากท่าเรือวาสุกีมากนัก ขณะเรียนชั้นปีที่ 1 อาตมาก็ยังเรียนวิชาบาลีควบคู่ไปด้วยและยังสอบไล่ได้เปรียญธรรมสามประโยคในปีนี้เช่นกัน จนกระทั้งเลื่อนขึ้นสู้ปริญญาตรีปีที่3 ก็ได้ย้ายสถานที่เรียนไปยังวัดบวรนิเวศ  ในปีนี้ก็สอบได้เปรียญธรรม 4 ก็ขอยุติเรื่องเรียนบาลีไว้แค่ตรงนี้ ปัจจุบัน ปี 2560 ก็ยังคงเป็นมหาเปรียญสี่ประโยคเช่นเคย. หลังจากนั้นได้เรียนจบปริญญาที่ มมร.ส่วนกลางที่นครปฐมซึ่งเป็นรุ่นแรกๆที่ได้เข้าไปอาศัยเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้จนจบครบ หลักสูตร 5 ปี  ก็เข้ารับการศึษาใน ระดับปริญญาโท ทันทีที่ มรจ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย เป็นระยะเวลา 2 ปี ความรู้ที่มีก็เหมือนจะไม่พอ ปีถัดมาหลังจากรับปริญญา เลยถือโอกาสเข้ารับการอบรมเพื่อเป็นพระธรรมทูตส่ายต่างประเทศ  จริงๆแล้วสาเหตุหลักที่ต้องการเป็นพระธรรมทูตก็คงจะเหมือนพระภิกษุหลายๆรูปหลายๆท่านผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของการรับสมัครพระธรรมทูต คือ มีพรรษาครบ 5 รู้ธรรมะวินัย มีศรัทธา ความเสียสละ มีทัษะด้านภาษาและความอดทน..ซึ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติหลักที่กรรมการใช้ในการขัดเลือกผู้เข้ารับการสมัคร แต่จริงๆแล้วจากประสบการณ์ที่อาตามาได้มีโอกาศไปอยู่อาศัยช่วยกิจการพระศาสนาในหลายๆประเทศ..คุณสมบัติหลักที่พระธรรมทูตต้องมีคือ ความมีจิตอาสา..มีคุณธรรมเห็นแก่ส่วนรวมไม่ทำให้เกิดการแตกแยกสามัคคีในองค์กรวัด..ทานข้าวเหนียว.พูดภาษาลาวหรืออีสานได้ยิ่งดี..คติประจำใจที่ควรมีของผู้ที่มีความปรารถนาอยากเป็นพระธรรมทูตก็คือ..ฝึกฝนตัวเองให้พร้อมเสมอ.พร้อมที่จะเอื้อมมือคว้าทุกๆโอกาศที่ผ่านเข้ามาในช่วงระยะเวลาที่แสนจะจำกัดนั้น.........ดั่งคำคมที่เขาว่ากันว่า.โอกาสก็เหมือนไอติม.ถ้าหากไม่กินมันก็จะละลาย.นั่นเอง.อาตมาภาพเองก็เช่นกันขณะที่เข้ารับการอบรมก็ไม่รู้เส้นทางชีวิตตัวเองเลยว่าจะเดินไปทางไหน..ครั้งแรกก็แค่ถูกเพื่อนชวนว่าจะได้ไปประเทศ ไอร์แลนด์ด้วยกันสุดท้ายก็ไม่ได้ไป.ครั้นใกล้จะจบโครงการเพื่อนหลายท่านก็ชวนไปหลายที่..เช่นดาลัมซาร่า ไปเพื่อเรียนภาษา  ไปเยอรมันนี..ก็เหมือนจะเป็นแค่มโนภาพเพื่อนหลายท่านก็พากันขายฝันให้กันและกัน สุดท้ายก่อนจบโครงการอบรม หลวงพ่อพระครูโฆษิตพุทธิศาสตร์  อาจารย์ใหญ่ด้านวิปัสสนา ท่านขออาสาสมัครไปปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่นสองรูป อาตมาเลยไม่รอช้าขอรับอาสา จึงได้ไปปฏิบัติงานที่ญี่ปุ่นกับเพื่อนอีก 1รูป จากวัดใหม่ทองเสน เขตุดุสิต กทม. ไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ที่วัดระฆังญี่ปุ่น  ซึ่งก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจที่นั่นอยู่ 2 ครั้งๆละ 3 เดือน ก็ได้มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นและคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่นมากพอควร คนไทยที่นั่นส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม  มีครอบครัวและมาทำงานอยู่ที่นั่นตั้งแต่ 20-30ปีที่แล้ว บางท่านก็เป็นเจ้าของร้านอาหารเครื่องดื่ม.บางท่านก็เปิดร้านนวดแผนไทย.ซึ่งก็พออยู่ได้..ผู้คนในญี่ปุ่นค่อนข้างสุภาพและเป็นมิตรกับคนไทย สภาพบรรยากาศและธรรมชาติที่ญี่ปุ่นค่อนข้างดี  บ้านเมืองสะอาดสะอ้าน..มีระเบียบวินัย การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถไฟหรือรถเมย์ก็ถือว่าสะดวก..ภัตตาหารเรื่องการขบฉัน ปัจจัยเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างถือได้ว่าสัปปายะ..แต่มี เรื่องหนึ่งที่ท่านต้องทำใจไว้หากต้องการไปอยู่ที่นั่นก็คือเรื่องภัยธรรมชาติ.
      หลังจากนั้นไม่นานนัก ปี 2559 มีพระอาจารย์รูปหนึ่งซักชวนให้ไปปฏิบัติงานที่ ฝรั่งเศส ท่านคือ ดร.พระมหานงค์ เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดยานนาวา  อาตมาได้รับความอนุเคราะห์เมตตาจากท่านไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดนวมินลียง ประเทศฝรั่งเศส เป็นระยะเวลา 3 เดือน  อยู่จำพรรษาด้วยกัน 5 รูป  ซึ่งมีพระจากวัดหัวลำโพง ด้วย1รูป  ได้มีโอกาศไปเข้าร่วมประชุมพระสงฆ์ไทยในสหภาพยุโรปที่วัดศรีนคริน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จึงได้มีโอกาสพบกับเจ้าของเพจชื่อดังนามว่า alittle buddha เป็นครั้งที่สองหลังจากได้มีโอกาสต้อนรับท่านครั้งที่จำพรรษา ณ ประเทศ ญี่ปุ่น ท่านชักชวนและบอกให้ดำเนินเรื่องขอวีซ่าอเมริกาเลยนะ  
          โอ้.วันเวลานั้นผ่านพ้นไปเร็วไวมากสำหรับคนที่พึ่งจะรู้ตัวว่าอายุอานามจะย่างเข้าสามสิบเสียแล้ว..แต่เวลาอาจจะเดินช้ามากสำหรับคนที่กำลังตั้งตารอ..หรือมีใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังจะมาถึง..ซึ่งมันก็จะหงุดหงิดหน่อยๆเหมือนเวลา 5 โมงเย็นเลิกงานแล้วอยากจะรีบกลับบ้านแต่กรรมเจ้ารถทำไมถึงติดยาวขนาดนี้..
         แต่อย่างไรก็สุดจะแล้วแต่..เหนือสิ่งอื่นใดนั้นทั้งหมดมันก็ขึ้นอยู่กับ..ใจ..หากจิตใจเรามั่นคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ขององค์กรพระธรรมทูตที่ยึดมั่นตามหลักและอุดมคติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้แล้ว..ว่า“จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชน      -สุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสสานํ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ” ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะสำเร็จได้ตามพุทธประสงค์แน่นอน..หากแต่ว่าความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น อาจจะมีบ้างแต่ในทัศนะของอาตมาภาพคิดว่าส่วนน้อย..ส่วนมากแล้วการที่พระธรรมทูตมาปฎิบัติศาสนกิจในต่างประเทศประสบกับปัญหาและอุปสัคต่างๆมากมายจริงแล้วพระธรรมทูตในต่างประเทศมีสถานะไม่ต่างกับชาวบ้านทั่วไปนอกจากมีกรอบระเบียบวินัยคอยบังขับเป็นกำแพงหนาแน่นอยู่แล้วยังมีกฏระเบียบสังคมต่างประเทศที่ต้องประพฤติด้วย กฎหมายก็ต้องรู้การกระทำใดๆจะเป็นไปโดยอำเภอใจนั้นไม่ได้..ท่านจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษใดๆทั้งนั้นในต่างประเทศ..เมื่อท่านได้ตัดสินใจมาอยู่ในต่างปนะเทศแล้ว..เจอญาติโยมดีก็ดีไป.เจอเจ้าอาวาสดีก็ถือว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่ง..แต่ถ้ามาอยู่แล้ว..เจอวัดที่มีโยมเป็นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์พื้นที่ก็จะแย่ๆหน่อย..สถานภาพบุคลากรทางศาสนาในปัจจุบันยังขาดการพัฒนาหลากหลายด้านโดยเฉพาะด้าน.ภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปนนั้นก็สำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางศาสนาควรส่งเสริม ไม่ควรส่งเสริมแต่เรื่องศาสนะสถานเพียงด้านเดียว  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระประจำวันเกิด ภาษาอังกฤษ english version

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ THE ANLYTICAL STUDY OF THE VENERABLE BUDDHADASA’S THE LITERARY WORK OF HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU โดย พระประสิทธิ์ ปภาธโร ๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เมื่อครั้งพ่อขุนรามมหาราชโปรดให้จารึกบนแผ่นศิลา ซึ่งเรียกกันว่า “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง” ซึ่งมีเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับศาสนธรรม ศาสนประวัติ ศาสนพิธี ศาสนวัตถุแทรกอยู่ และต่อจากนั้นมาก็มีวรรณกรรมทางศาสนาติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา วรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณกรรมสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งแตกต่างกับวรรณกรรมสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณกรรมในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเรื่อ

แปลหนังสือสุทธิ english version

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่าน