ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บุญ หมายถึง บุญกิริยาวัตถุ

 ตั้งนะโม  ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา     กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ  ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ     สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโยติ.   ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ   พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า  ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.

  ขอกราบนอบน้อมแด่พระรัตนะตรัย มีพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ขอถวายความเคารพท่านเจ้าอาวาส พระเถรานุเถระทุกรูปทุกท่าน และขอเจริญพร ญาติโยมทุกๆท่าน โดยเฉพาะเจ้าภาพกัณเทศน์ในวันนี้ นำโดยโยมแม่ใหญ่ปาน เพชรนาค  วันนี้เป็นวันพระ เป็นวันธรรมัสวณะในฤดูกาลเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันพุธ ที่ ๑๖ เดือน สิงหาคม  ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖  ลำดับต่อไป อาตมภาพ จักได้รับประทานแสดงพระธรรมเทศนา ในพระธรรมคาถา พรรณนาถึง เรื่องการทำบุญ  จนกว่าจะยุติลงด้วยเวลาสืบต่อไป  ความหมายของคำว่าบุญนี้ ญาติโยมหายคนหลายท่านอาจมีความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป วันนี้จึงขอพูดเรื่องบุญนิดๆ หน่อยๆ เพราะคำว่าบุญเป็นคำสำคัญ ในพระพุทธศาสนา และเวลานี้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “บุญ” ก็แคบมาก หรือ บางทีก็ถึงกับเพี้ยนไป แง่ที่ ๑ ยกตัวอย่าง ที่ว่าบุญมีความหมายแคบลงหรือเพี้ยนไปนั้น เช่น เมื่อ เราพูดว่าไปทำบุญทำทาน โยมก็นึกว่าทำบุญ คือถวายข้าวของแก่พระสงฆ์ บุญ ก็เลยมักจะจำกัดอยู่แค่ทาน คือการให้ แล้วก็ต้องถวายแก่พระเท่านั้นจึงเรียกว่า บุญ ถ้าไปให้แก่ชาวบ้าน เช่น ให้แก่คนยากจน คนตกทุกข์ยากไร้ เราเรียกว่าให้ ทาน ภาษาไทยตอนหลังนี้จึงเหมือนกับแยกกันระหว่างทำบุญกับให้ทาน ทำบุญ คือถวายแก่พระ ให้ทาน คือให้แก่คฤหัสถ์ชาวบ้าน โดยเฉพาะคนตกทุกข์ได้ยาก เมื่อเพี้ยนไปอย่างนี้นานๆ คงต้องมาทบทวนกันดู เพราะความหมายที่ เพี้ยนไปนี้กลายเป็นความหมายในภาษาไทยที่บางทียอมรับกันไปจนคิดว่าถูกต้องด้วยซ้ำ แต่พอตรวจสอบด้วยหลักพระศาสนาแล้วก็ไม่จริง เพราะว่าทาน นั้นเป็นคำกลางๆ การถวายของแก่พระ ที่เราเรียกว่าทำบุญนั้น เมื่อว่าเป็นภาษาบาลี จะเห็น ชัดว่าท่านเรียกว่าทานทั้งนั้น แม้แต่ทำบุญอย่างใหญ่ที่มีการถวายของแก่พระมากๆ เช่น ถวายแก่สงฆ์ ก็เรียกว่าสังฆทาน ทำบุญทอดกฐิน ก็เรียกว่ากฐินทาน ทำบุญทอดผ้าป่า ก็เป็นบังสุกุลจีวรทาน ไม่ว่าถวายอะไรก็เป็นทานทั้งนั้น ถวาย สิ่งก่อสร้างในวัด จนถวายทั้งวัด ก็เรียกเสนาสนทาน หรือวิหารทาน ทานทั้งนั้น ในแง่นี้ จะต้องจำไว้ว่า ทานนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำบุญ เมื่อเราพูด ว่าทำบุญ คือ ถวายของพระ บุญก็เลยแคบลงมาเหลือแค่ทานอย่างเดียว ลืมนึก ไปว่ายังมีวิธีทำบุญอื่นๆ อีกหลายอย่าง นี้ก็เป็นแง่หนึ่งละ แง่ที่ ๒ ก็คือความแคบในแง่ที่เมื่อคิดว่า ถ้าให้แก่คนตกทุกข์ได้ยากหรือ แก่ชาวบ้านก็เป็นทานแล้ว ถ้าเข้าใจเลยไปว่า ไม่เป็นบุญ ก็จะยุ่งกันใหญ่ ที่จริง ไม่ว่าให้แก่ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าบุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง การวัดว่าบุญมากบุญน้อย เช่นในเรื่องทานนี้ ท่านมีเกณฑ์หรือมีหลักสำหรับวัดอยู่แล้วว่า ๑. ตัวผู้ให้ คือทายกทายิกา มีเจตนาอย่างไร ๒. ผู้รับ คือปฏิคาหก มีคุณความดีแค่ไหน ๓. วัตถุหรือของที่ให้ คือไทยธรรม” บริสุทธิ์ สมควร เป็นประโยชน์เพียงใด ถ้าปฏิคาหก คือผู้รับ เป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี ก็เป็นบุญมากขึ้น ถ้า ปฏิคาหกเป็นคนไม่มีศีล เช่นเป็นโจรผู้ร้าย เราก็ได้บุญน้อย เพราะดีไม่ดีให้ไปแล้ว เขากลับอาศัยผลจากของที่เราให้ เช่น ได้อาหารไปกินแล้วร่างกายแข็งแรง ก็ยิ่ง ไปทำการร้ายได้มากขึ้น กลับเกิดโทษวัตถุสิ่งของที่ถวาย ถ้าบริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เป็นประโยชน์ มี คุณค่าแก่ผู้ที่รับไป สมควรหรือเหมาะสมแก่ผู้รับนั้น เช่น ถวายจีวรแก่พระสงฆ์ แต่ให้เสื้อแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ก็เป็นบุญมาก ส่วนตัวผู้ให้ก็ต้องมีเจตนาที่เป็นบุญเป็นกุศล ตั้งใจดี ยิ่งถ้าเจตนานั้น ประกอบด้วยปัญญา ก็มีคุณสมบัติดีประกอบมากขึ้น ก็ยิ่งได้บุญมาก เป็นอันว่า การให้เป็นทานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะถวายแก่พระหรือจะให้แก่คฤหัสถ์ ชาวบ้าน จึงต้องมาทบทวนความหมายกันใหม่ว่า ได้บุญ ไม่ใช่เฉพาะถวายแก่พระ  ๒. บุญ ไม่ใช่แค่ทาน ให้ทานอย่างไร จึงจะได้ทำบุญอย่างสมบูรณ์ ทีนี้ก็มาดูว่าบุญนั้นแค่ไหน การทำบุญ ท่านเรียกว่า บุญกิริยา หรือเรียก ยาวว่า บุญกิริยาวัตถุ คือเรื่องของการทำบุญ 


ญาติโยมที่คุ้นวัดจะนึกออกว่า บุญ กิริยาวัตถุมี ๓ อย่าง คือทาน การให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน ๒. ศีล การประพฤติสุจริต มีความสัมพันธ์ที่ดี ไม่เบียดเบียนกัน ๓. ภาวนา ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ เจริญปัญญา ทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ศีลก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ภาวนาก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง และสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย ศีลเป็นบุญที่สูงกว่าทาน ภาวนาเป็นบุญที่สูงกว่าศีล แต่เราสามารถทำไปพร้อมกันทั้ง ๓ อย่าง เหตุใดจึงเรียกการถวายของแก่พระที่วัดว่าเป็นการทำบุญ แต่ให้แก่ชาว บ้านเรียกว่าเป็นทานเฉยๆ เรื่องนี้อาจจะเกิดจากการที่ว่า เวลาเราไปถวายพระ ที่วัด เราไม่ใช่ถวายทานอย่างเดียวเท่านั้นคือ ในเวลาที่เราไปถวายสิ่งของเครื่อง ไทยธรรม หรือทำอะไรที่วัดนั้น นอกจากทานเป็นอย่างที่ ๑ แล้ว ๒. ศีลเราก็ได้รักษาไปด้วย คือเราต้องสำรวมกายวาจาอยู่ในระเบียบ แบบแผนวัฒนธรรมประเพณี เรื่องมารยาทอากัปกิริยา และการสำรวมวาจา ต่างๆ นี้เป็นศีลทั้งสิ้น และเวลานั้นเรางดเว้นความไม่สุจริตทางกายวาจา ความ ไม่เรียบร้อย การเบียดเบียนทุกอย่างทางกายวาจา เราละเว้นหมด เราอยู่ในกาย วาจาที่ดีงาม ที่ประณีต ที่สำรวม ที่ควบคุม นี่คือเป็นศีล ๓. ในด้านจิตใจ จะด้วยบรรยากาศของการทำบุญก็ตาม หรือด้วยจิตใจ ที่เรามีความเลื่อมใสตั้งใจไปด้วยศรัทธาก็ตาม จิตใจของเราก็ดีงามด้วย เช่น มี ความสงบ มีความสดชื่น เบิกบานผ่องใส มีความอิ่มใจ ตอนนี้เราก็ได้ภาวนา ไปด้วย ยิ่งถ้าพระได้อธิบายให้เข้าใจในเรื่องการทำทานนั้นว่าทำเพื่ออะไร มี ประโยชน์อย่างไร สัมพันธ์กับบุญหรือการปฏิบัติธรรมอื่นๆ อย่างไร ฯลฯ เรา มองเห็นคุณค่าประโยชน์นั้น และมีความรู้ ความเข้าใจธรรม เข้าใจเหตุผลต่างๆ มากขึ้น เราก็ได้ปัญญาด้วยด้วยเหตุที่ว่ามานี้ ก็จึงกลายเป็นว่า เมื่อเราไปที่วัดนั้น แม้จะไปถวายทาน อย่างเดียว แต่เราได้หมดทุกอย่าง ทานเราก็ทำ ศีลเราก็พลอยรักษา ภาวนาเรา ก็ได้ ทั้งภาวนาด้านจิตใจ และภาวนาด้านปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปที่วัด ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง เราจึงไม่ได้ถวายทาน อย่างเดียว แต่เราได้มาครบ ตอนแรกเราตั้งใจไปถวายทานอย่างเดียว แต่เมื่อไป แล้วเราได้มาครบทั้งสาม ทีนี้เราจะบอกว่า เราไปถวายทานมา เราก็พูดไม่ครบ ก็เลยพูดว่าเราไปทำบุญ เพราะว่าเราได้ทั้งสามอย่าง ที่ว่ามานี้ก็เป็นเหตุให้การ ถวายทานอย่างเดียวกลายเป็นมีความหมายเป็นทำบุญ(ครบทั้งสามอย่าง) เมื่อโยมเข้าใจอย่างนี้แล้ว ต่อไป เวลาไปถวายทานที่วัด ก็ต้องทำให้ได้ บุญครบทั้ง ๓ อย่าง คือไม่ใช่ถวายทานอย่างเดียว แต่ต้องให้ได้ทั้งศีลทั้งภาวนา ด้วย อย่างนี้จึงจะเรียกว่า “ทำบุญ” ที่แท้จริง 


หวังว่า คำว่าบุญ นี้ญาติโยมทุกท่านคงจะพอทราบแล้วนะว่าคืออะไร มีความหมาย ว่าอย่างไร อย่าเป็นเหมือนคุณตา รับจ้างแจวเรือข้ามฝากหน้าวัดระฆังโฆษิตารามนะคุณโยม เรื่องมีอยู่ว่ามีหลวงพ่อรูปหนึ่งสังเกตุไม่ยากหลอกท่านจะเดินกระเพกๆหน่อย ท่านไปทำธุระที่ฝั่งพระคร ตกเย็นจะกลับวัด ต้องอาศัยเรือข้ามฝาก จึงพูดกับคุณตาว่าช่วยแจวเรือไปส่งวัดหน่อยโยม อาตมาไม่มีเงินให้นะมีแต่บุญเอาไหมโยมไปส่งได้ไหม คุณตาด้วยความไม่รู้ว่าบุญคืออะไร รูปร่างหน้าตามันเป็นยังไง ไหนๆก็จะมืดจะค่ำแล้ว ถือโอกาสจะกลับบ้านด้วย ไม่ได้เงิน ได้บุญก็ยังดี พอส่งหลวงตาถึงท่าเรือวัดแล้วจึงทวงถามถึงค่าแจวเรือว่า หลาวตาไหนละครับว่าจะให้บุญ หลวงตาก็มึนๆงงไม่รู้จะอธิบายยังไง จึงหันหลังไปแล้วเอานิ้วแหย่ไปที่จมูก ทำท่าทีเหมือนกำลังค้นหาตัวบุญอยู่ในย่าม อะนี่นะโยม แบมือออกมา รับไว้นะโยม อายุ วัณโร สุขัง พลัง แล้วหลวงตาก็เดินจากไป ส่วนคุณตาได้บุญมาแล้วก็ดีใจ พึ่งรู้จักว่าบุญ มันเป็นเม็ดกลมๆเล็กๆ สีเขี่ยวๆคล่ำๆ จะเก็บไว้ในถุงเสื้อ ถุงกางเกงก็กลัวว่ามันจะหล่นหาย จึงอ้าปากขึ้นแล้วอมไว้ ในใจก็คิดขึ้นว่า โอ้บุญนี่มันมีรสชาติเค็มๆปะแร่มๆเนาะ  หวังว่าวันนี้ญาติโยมคงจะได้บุญไปคนละเม็ดสองเม็ดนะคุณโยม  เทสนา วสาเน ในท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ ด้วยอานิสงส์แห่งบุญกุศลที่ทุกท่านบำเพ็ญแล้วนี้ อาตมาภาพขออ้างคุณแห่งพระรัตนตรัย เพื่ออำนวยอวยชัยแก่ท่านทั้งหลาย ว่า ขอเดชะ พุทธรัตน์กำจัดทุกข์ ให้มีสุข ศิริศักดิ์ เป็นหลักฐาน ขอเดชะ ธรรมรัตน์ กำจัดพาล ให้ไพศาล ผุดผ่อง พ้นผองภัย ขอเดชะ สังฆรัตน์ กำจัดโรค สืบชนม์ยิ่งอายุขัย ขอเดชะ พระไตรรัตน์ ดังฉัตรชัย ตุ้มครองให้ กายใจสุข ทุกท่านเทอญ

 เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระประจำวันเกิด ภาษาอังกฤษ english version

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ THE ANLYTICAL STUDY OF THE VENERABLE BUDDHADASA’S THE LITERARY WORK OF HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU โดย พระประสิทธิ์ ปภาธโร ๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เมื่อครั้งพ่อขุนรามมหาราชโปรดให้จารึกบนแผ่นศิลา ซึ่งเรียกกันว่า “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง” ซึ่งมีเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับศาสนธรรม ศาสนประวัติ ศาสนพิธี ศาสนวัตถุแทรกอยู่ และต่อจากนั้นมาก็มีวรรณกรรมทางศาสนาติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา วรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณกรรมสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งแตกต่างกับวรรณกรรมสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณกรรมในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเรื่อ

แปลหนังสือสุทธิ english version

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่าน