ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คบคนเช่นไร ย่อมเป็นคนเช่นนั้น


ยํ เว เสวติ ตาทิโสติ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า ขอโอกาสพระเถรานุเถระทุกรูปทุกท่าน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลจงบังเกิดมีแด่ญาติโยมสาธุชนทุกท่านทุกคน โดยเฉพาะเจ้าภาพกัณเทศน์ในวันนี้ นำโดยโยมแม่เพชรสมร คงหอม คุณใหม่ เฮอร์เกอร์ คุณชุตินานต์ นาสารี คุณสำเร็จ รุ่ง พร้อมด้วยลูกๆหลานๆ ร่วมรับเป็นเจ้าภาพเจ้าศรัทธา ตั้งจิตตั้งใจมีเจตนารับเป็นเจ้าภาพถวายกัณฑ์เทศน์ในฤดูกาลเข้าพรรษาในวันนี้  ซึ่งตรงกับวันพุธ ที่ ๑๘ เดือน กันยายน  ปีพุทธศักราช ๒๕๖๗  ลำดับต่อไป อาตมภาพ จักได้รับประทานแสดงพระธรรมเทศนา ในพระธรรมคาถา พรรณนาถึง เรื่องการคบค้าสมาคมของผู้คนในสังคมเป็นลำดับสืบไป การเลือกคบคนนั้น ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต เพราะคนเรานั้นไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังได้ จำต้องมีเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ  เพราะเราอยู่ในสังคม ต้องคบค้าสมาคมกับคนอื่น มีการติดต่อกับคนอื่น จึงจะสามารถอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ แต่มนุษย์เรานั้น มีทั้งที่เป็นคนดีและคนไม่ดี การคบเพื่อน จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดี ต้องดูให้แน่ว่าคน นั้นดีหรือไม่ดี แล้วจึงตัดสินใจคบหรือไม่คบเพราะโดยปกติ เพื่อนย่อมจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอันมาก ถ้าเราคบเพื่อนดี ก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะเป็นคนดีด้วย แต่ถ้าเราคบเพื่อนไม่ดี ก็มีความเป็นได้สูงที่เราจะเป็นคนไม่ดีด้วยเช่นกัน  ถ้าศีลไม่เสมอกัน ก็อยู่ร่วมกันไม่ได้ ต้องเป็นพวกเดียวกัน คุยเรื่องเดียวกัน ถึงอยู่กันได้ คนแบบเดียวกันจึงดึงดูดพวกเดียวกัน สมดั่งพุทธภาษิตที่ยกไว้เบื่องต้นนั้นว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโสติคบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นั้นแล โบราณท่านจึงมักกล่าวว่าอยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่ร่วมมิตรให้ระวังคำพูด จะเห็นได้ว่าการคบเพื่อนนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องระมัดระวังก็คือคำพูด คำจา ดั่งบทประพันธ์ที่ว่า อันวาจาพาทีนี้เป็นเอก จะปรุกเสกให้คนชอบตอบสนอง จะต้องพูดให้สนุกสุขสมปอง ขอรับรองสำเร็จกิจพิชิตชัย ถึงพูดจาอ่อนหวานสักปานไหน ยอมพูดได้หากรู้จักหลักภาษา แต่ถ้าขาดความจริงใจในวาจา จะควรค่าแก่ผู้ฟังอย่าหวังเลย ท่านว่า  น้ำใสเกินไป ก็ไร้ปลา ตรงไปตรงมา ก็เสียเพื่อน ฟ้าแจ้งเกินไป ก็ไร้เดือน ดูซับซ้อนซ่อนเงื้อน ก็ไร้ใจ มีพร้อม มากไป ก็ไม่ดี บกพร่องกว่านี้ ก็ไม่ไหว ลุ่มหลงรักเกิน ก็หนักใจ คิดมากเกินไปก็หนักตน อ่อนน้อมถอมไป ก็เสียเชิง ตะเพิดเปิดเปิง ก็เสียผล เข็มงวดกวดเกิน ก็เสียคน ยอมให้ทุกหนก็เสียการ เป็นเช่นนั้นแหละญาติโยม คนเรานั้นถ้าหากมีสติ มีปัญญา มีธรรมะอยู่ในจิตในใจ ย่อมจะต้องมีขันติธรรมเพื่อการอยู่ร่าวกันอย่างสงบสุข มีความสามัคคี ปองดองประหนึ่งบทกลอนสอนธรรมทางบ้านของอาตมาว่า อันว่าขันติตั้ง หลักแก่นคุณธรรมหากสิเป็นนายคนประกอบคุณเทียมไว้คือจังแกนขามไม้ ของดีบ่หักง่าย ไม้ลำปอข้อป้อง คุณน้อยไว้อ่อยไฟความหมายคือ ถ้าหากอยากเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ อยากเป็นผู้นำ อยากเป็นเจ้าคนนายคน ให้บำเพ็นขันติบารมี คือเป็นคนมีความอดทน อดกลั่น ต่อคำกล่าวสรรเสริญป่อย่อ และคำว่ากล่าวตักเตือน รู้จักสง่วนท่าทีและการวางตัว ไม่หวั่นไหวเอนเอียงโดยง่าย เป็นคนมีจิตใจที่แข็งแกร่งเหมือนแก่นไม้มะขาม ที่คนเก่าคนแก่มักเอาไปทำด้ามมีด ด้ามขวานอย่าเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวเปาะบางเหมือนไม่ลำปอที่มีค่าน้อยทำประโยช์ได้ก็เพียงแค่ไม้สำหรับจุดไฟนั่นเอง เพราะว่าผู้คนในสังคมนั้นย่อมมีดี มีเลวแตกต่างกันไป บ้างก็ดีมาก บ้างก็ดีน้อย แต่อาตมาขอนะโยมว่าอย่าดีแต่คนเดียว คนอื่นชั่วหมด ถ้าดีอยู่คนเดียวนี่ต้องระวัง ให้มาก เพราะดีมากไปดีอยู่คนเดียวเพื่อนก็ไม่ครบนะ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องปรับทัศนะ เปลี่ยนวิธีคิด ปรับมุมมองของตัวเราเองด้วย เหมือนกับบทประพันธุที่หลวงพ่อพุทธทาสที่ให้ไว้ว่า ขามีส่วน  เลวบ้าง  ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่เป็นประโยชน์  โลกบ้าง  ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว  อย่าไปรู้  ของเขาเลย จะหาคน  มีดี  โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว  ค้นหา  สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา  หนวดเต่า  ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย  มองแต่ดี  มีคุณจริง ในวันนี้ อาตมาภาพก็ขอฝากข้อคิดคติธรรมเล็กๆน้อย เพื่อเป็นเครื่องปฏิการะคุณตอบแทน แก่ญาติโยมทุกๆท่าน อีกทั้งเพื่อเป็นเครื่องประคับประครองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขตามอัตตภาพแห่งตนๆว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส แปลความว่า คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้นแลเทสนา วสาเน ในท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ด้วยอานิสงส์แห่งบุญกุศลที่ทุกท่านบำเพ็ญแล้วนี้ อาตมาภาพขออ้างคุณแห่งพระรัตนตรัย เพื่ออำนวยอวยชัยแก่ท่านทั้งหลาย ว่า ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะ เทวตา ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวัน ตุ เต ด้วยอานุภาพ แห่พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ   เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระประจำวันเกิด ภาษาอังกฤษ english version

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ THE ANLYTICAL STUDY OF THE VENERABLE BUDDHADASA’S THE LITERARY WORK OF HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU โดย พระประสิทธิ์ ปภาธโร ๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เมื่อครั้งพ่อขุนรามมหาราชโปรดให้จารึกบนแผ่นศิลา ซึ่งเรียกกันว่า “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง” ซึ่งมีเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับศาสนธรรม ศาสนประวัติ ศาสนพิธี ศาสนวัตถุแทรกอยู่ และต่อจากนั้นมาก็มีวรรณกรรมทางศาสนาติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา วรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณกรรมสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งแตกต่างกับวรรณกรรมสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณกรรมในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเรื่อ...

แปลหนังสือสุทธิ english version

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่าน