เรื่อง
ศึกษาวิเคราะห์คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ในสถานการศึกษา
ผู้บริหารเป็นหัวใจสำคัญของหน่วยงานหรือองค์การ ทุกหน่วยงานย่อมปรารถนาและให้การยอมรับนับถือผู้บริหารที่มีคุณภาพนั่นก็คือ
เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีทักษะคามชำนาญงานมีประสบการณ์
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ฯลฯ แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดคือ ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ
และมีจริยธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธา
ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมถือเป็นคุณสมบัติอันสำคัญที่จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้บริหารนั้นสามารถครองตน
ครองคน และครองงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเรื่องที่ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมนั้นมีดังต่อไปนี้
1.
ความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารในสถานศึกษา
การศึกษาศีลธรรมและหลักธรรมทางศาสนาได้รับการยอมรับว่า
ทุกศาสนาในโลกนี้
มุ่งสอนให้ผู้นับถือเป็นคนดีด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหลักศาสนาหรือพิธีกรรม
หลักศาสนาในที่นี้จะมุ่งไปที่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก เนื่องจากสามารถปรับใช้กับหลักการบริหารการศึกษาได้เป็นอย่างดี
มนุษย์ทุกรูปนามไม่สามารถจะดำรงตนอยู่ได้แต่ลำพัง แม้จะมีกำลังในด้านต่างๆมากมายก็ตามไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย
กำลังความคิด กำลังทรัพย์ หรืออื่นๆ มนุษย์ก็ยังต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่เสมอ เพราะไม่สามารถทำอะไรทุกอย่างได้ด้วยตนเองเพียงลำพัง
เช่น ต้องพึ่งพาพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน จนถึงคนรับใช้ จึงพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่ามนุษย์จะต้องมีความสัมพันธ์กับคนอื่นเสมอ
ความสัมพันธ์กันของมนุษย์ ย่อมมีหลักการที่มีลักษณะเป็นแบบสองทาง ถ้าเป็นความสัมพันธ์ทางเดียวแล้วโลกของเราจะเป็นตามสภาพที่เป็นอยู่นี้ไม่ได้เลย
สิ่งที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ เรียกกันว่า คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นที่จะทำให้สังคมทุกภาคส่วน
สามารถจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา
77 บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดให้
มีแผนพัฒนาการเมืองทางการเมือง ข้าราชการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่ง
และ
พนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเสริมสร้าง
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่” และมาตรา
81 บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและ
สนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับ
การศึกษาแห่งชาติปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง
การปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการ
ต่างๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ
พัฒนาวิชาชีพครูและ
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ” (กระทรวงศึกษาธิการ,
2541ก : 24-25)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการในการจัด
การศึกษาไว้ใน มาตรา 6 ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไว้ในมาตรา
23 ว่า “การ
จัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องเน้น
ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละ
ระดับของการศึกษา” (กระทรวงศึกษาธิการ,
2542ก : 5,14)
จากพระบรมราโชวาทและข้อความที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า เรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ
และ
ต้องปลูกฝังให้กับคนในชาติ ดังนั้นการจัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
ต้องจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรมเพื่อให้ได้ผู้เรียนที่พึงประสงค์
คือ ผู้เรียนเป็นคนดี
คนเก่ง และคนมีความสุข การจัดการศึกษาที่จะได้ผู้เรียนที่พึงประสงค์
ผู้มีบทบาทสำคัญคือ ผู้บริหาร
โรงเรียน ครูและผู้ปกครองการที่ผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาจะเป็นคนดี
คนเก่ง และ
คนมีความสุขได้ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้
ความสามารถ มี
ทักษะความชำนาญงาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและที่สำคัญต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ
มีจริยธรรมที่
น่าเลื่อมใสศรัทธาเพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้บริหารสามารถครอง
ตน ครองคน และครองงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หรือการปฏิรูปการศึกษาจะ
ประสบผลสำเสร็จไปได้ยากหากผู้บริหาร
โรงเรียนขาดคุณธรรม ทั้งนี้เพราะผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
การที่
ผู้เรียนซึ่งเป็น ผลผลิตของการจัดการศึกษาจะมีความรู้คู่คุณธรรมได้
ครูจำเป็นต้องมีความรู้และ
คุณธรรมก่อนเพราะครูคือแบบอย่างของนักเรียนและในขณะเดียวกันผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็น
แบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2543 : 11)
ผู้บริหารที่ขาดคุณธรรมย่อมเป็นเหตุของความเสื่อมของหน่วยงานบุคคลในหน่วยงาน
มักจะแตกแยกขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
หน่วยงานย่อมลดลง ผู้บริหารที่มีคุณธรรมย่อมเป็นที่รักของผู้ร่วมงานเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
ผู้ร่วมงานให้ความร่วมมือ สามารถรวมพลังแห่งการยอมรับ เป็นพลังสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนา
หน่วยงานให้ก้าวหน้า (ทองอินทร์ วงศ์โสธร,
2538 : 5) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงาน
ย่อมสูง ดังนั้นความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมจึงอาจแบ่งได้
ดั้งนี้ คือ
1.ความสำคัญต่อสังคม
สังคมเป็นแหล่งรวมกันของผู้คนที่มีความแตกต่างกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างทางความคิดเป็นความแตกต่างที่สำคัญ เพราะความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำ
ถ้าคิดอย่างไรการกระทำก็มักจะเป็นอย่างนั้นเสมอ เมื่อความคิดของคนในสังคมแตกต่างกันก็จะเกิดการกระทำที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายตามไปด้วย
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่างๆตามมา ดังนั้นสังคมต้องอาศัยคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมความคิดและการปฏิบัติของผู้คนไม่ให้ไปคิดและกระทำอันเป็นการละเมิดผู้อื่น
แต่ละคนต่างยึดถือในหลักศีลธรรมและคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ และยึดหลักกัลยาณธรรมข้อที่เป็นจริยธรรมพื้นฐานแล้วสังคมก็จะอยู่เย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง
คุณธรรมธรรมกับจริยธรรมและศีลธรรมและกัลยาณธรรมสามารถนำเสนอได้ดังนี้
คุณธรรม จริยธรรม
ศีลธรรม กัลยาณธรรม
ไม่ฆ่าสัตว์
เมตตากรุณา
ไม่ลักทรัพย์
สัมมาอาชีวะ
ไม่ประพฤติผิดในกาม สำรวมในกาม(ความซื่อสัตย์)
ไม่พูดปด สัจจะ
ไม่ดื่มน้ำเมา สติสัมปชัญญะ
ถ้าในสังคมมีสมาชิกที่เต็มไปด้วย ศีลธรรม 5 กัลยณธรรม 5 ดังข้างต้นแล้วก็จะยังประโยชน์สุขมาให้แก่สังคมนั้นๆตลอดไป
2.ความสำคัญต่อหน่วยงาน
ถ้าหน่วยงานใดมีสมาชิกที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมจริยธรรมแล้ว หน่วยงานนั้นก็จะเป็นหน่วยงานที่มีคุณภาพ
ประสิทธิภาพ เพราะคุณธรรมที่ดีในตัวแต่ละคนนั้น จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นผู้มีคุณภาพพร้อมที่จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนจริยธรรมนั้นเป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นผู้ที่สามารถในการปฏิบัติที่ดีที่ถูกต้อง
ทำให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า หน่วยงานที่มีบุคลากรที่มีคุณธรรม
จริยธรรม ก็คือ มีปัจจัยตัวป้อนด้านบุคลากรที่ดี และเมื่อเข้าสู่กระบวนการก็จะได้ผู้ที่ควบคุมกระบวนที่ดี
และจะได้ผลงานออกมาที่ดีในที่สุด
3. ความสำคัญต่อการบริหาร
การบริหารประกอบด้วย วัตประสงค์ขององค์การ กิจกรรมที่จะดำเนินการและทรัพยากรในการบริหาร
ทรัพยากรบริหารนั้นประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ซึ่งคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด
ถ้าหากคนมีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว การบริหารงานก็จะดำเนินไปได้และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ถ้าหากคนไม่มีคุณธรรมจริยธรรมก็ยากที่จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
4. ความสำคัญต่อผู้บริหาร
คุณธรรมจริยธรรมเป็นคุณสมบัติที่ดีของทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำ
หรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ เนื่องจากผู้บริหารเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานขับเคลื่อนไปข้างหน้าตามวัตถุประสงค์
ซึ่งคุณธรรมจริยธรรม มีความสำคัญต่อผู้บริหาร ดังนี้
5.ความสำคัญต่อการสร้างภาวะผู้นำ
ผู้นำ คือ ผู้ที่แสวงหาความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ส่วนผู้บริหาร
คือ ผู้ดำเนินงานตามการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุผล ทั้งผู้นำและผู้บริหารจึงเป็นเสมือนหัวก้อยของเหรียญ
แต่การที่จะได้รับการยอมรับเพื่อที่จะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำจะต้องอาศัยคุณธรรมจริยธรรม
กล่าวคือ มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เป็นต้น
คุณธรรมจริยธรรมเป็นลักษณะของความดี ถ้าผู้บริหารมีความดีมีคุณธรรมจริยธรรมก็จะได้รับการยอมรับนับถือ
เท่ากับเป็นการสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น
6. ความสำคัญต่อการจูงใจ
การบริหารงานนอกจากจะวางระบบการบริหารงานที่ดีแล้ว ยังต้องพยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ซึ่งการสร้างแรงจูงใจมีทั้งทางบวกและทางลบ เช่น การให้รางวัล หรือการลงโทษ เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริงในการสร้างแรงจูงใจที่ดีที่สุดคือการทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความรู้สึกว่าได้ปฏิบัติหน้าที่กับผู้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์
สุจริต ยุติธรรม ดังนั้น ถ้าผู้บริหารมีคุณธรรมจริยธรรมก็จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี
7. ความสำคัญต่อการสร้างผลงาน
การดำเนินงานโครงการหรืองานประจำใดๆที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความไม่คุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า ขาดคุณธรรม จริยธรรม มีการทุจริตคอรัปชั่นแฝงอยู่ในกระบวนการดำเนินงาน
ถ้าการบริหารไม่ว่าระดับใดหรือฝ่ายใดก็ตามยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ไม่โลภ ไม่อยากได้
ในสิ่งที่ไม่ควรได้ เมื่อมีการบริหารงานด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตแล้ว การใช้งบประมาณก็จะทำได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ผลงานต้องเกิดขึ้นและคุ้มค่ามากที่สุด
จากความสำคัญและความจำเป็นที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์คุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสำหรับผู้บริหารในสถานศึกษาดังต่อไปนี้
2.
ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
2.1 คุณธรรม (Moral
/ Virtue)
ความหมายของคำว่า คุณธรรมนี้
มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้เสนอแนวคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่ว
ไป ได้แก่ “คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ
ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม หมายถึง
หลักการความดีงามแห่งความประพฤติตน และลักษณะของอุปนิสัยอันดีงามที่สนใจของบุคคล
มีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยึดถือและปฏิบัติตาม
เพื่อความเจริญของตนและสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคคลทั่วไป
ซึ่งคุณธรรมนี้เกิดจากการปลูกฝังโดยการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน
และที่สำคัญที่สุดคือ การได้เห็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางคุณธรรมของผู้ที่เคารพรักเป็นตัวอย่าง (สุกัญญา
ศรีเมืองชน 2533 : 36)
ประภาศรี สีหอำ ไพ (2535 : 43) กล่าวว่า คุณธรรม คือ
หลักธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
มีหลักปรัชญาเดียวกัน คือ เป็นหลักปฏิบัติคุณงามความดี
คุณธรรมที่ว่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความดี ความสุข
และการกำหนดคุณค่าของคุณธรรม
พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน (2530 : 190) ให้ความหมายของคุณธรรม
ว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงาม ความดี หรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว
คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นความดี ความงามที่มีอยู่ในจิตใจของแต่ละบุคคล โดยได้ยึด
ถือปฏิบัติจนเป็นนิสัย และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามของบุคคลทั่วไป (ยนต์ ชุ่มจิต, 2524)
คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้า
หมายว่าเป็นการกระทำดี หรือเป็นพฤติกรรมที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ความเสียสละ ความมีน้ำใจงาม ความเกรงใจ ความยุติธรรม ความรักเด็กและเพื่อนมนุษย์ และความเห็นอกเห็นใจคนอื่น เป็นต้น (สงวน สุทธิเลิศอรุณ, 252)
คุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ศาสนาและอุดมการณ์เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วยปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ สังคมต้องมีจิตวิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลา
เรียนรู้โดยพ่อ แม่ สถาบันการศึกษา ศาสนา พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ (ลิขิต ธีรเวคิน,2548 )
คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ (รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี, 2546 : 4)
คุณธรรม หมายถึง ความดี ความงาม
ความซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2527
: 387)
คาร์เตอร์ กู๊ด (Good 1973 : 208) ได้ให้ความหมายของคุณธรรม เป็น 2 ประการ
ความหมายแรก คือ
ความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่ได้กระทำ ตามมาเป็น
ความเคยชิน
ความหมายที่สอง คือ
คุณภาพของบุคคลที่ได้กระทำ ตามความคิดและมาตรฐานของสังคม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรม
โลว์ (Lowe 1976 : 92) ให้ความหมาย เพิ่มเติมว่าคุณธรรม หมายถึง
สิ่งที่สังคมยึดถือเป็นข้ออ้างอิง
นอกจากนี้ นักการศึกษาไทยได้ให้ความหมายของคำ
ว่าคุณธรรม ไว้สอดคล้องกันสามารถนำ มาประมวลได้ คือ
คุณธรรม หมายถึง
หลักการความดีงามแห่งความประพฤติตน และลักษณะของอุปนิสัยอันดีงามที่สนใจของบุคคล
มีคุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ยึดถือและปฏิบัติตาม
เพื่อความเจริญของตนและสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคคลทั่วไป
ซึ่งคุณธรรมนี้เกิดจากการปลูกฝังโดยการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน
และที่สำคัญที่สุดคือ การได้เห็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางคุณธรรมของผู้ที่เคารพรักเป็นตัวอย่าง (สุกัญญา
ศรีเมืองชน 2533 : 36)
ประภาศรี สีหอำ ไพ (2535 : 43) กล่าวว่า คุณธรรม คือ
หลักธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
มีหลักปรัชญาเดียวกัน คือ เป็นหลักปฏิบัติคุณงามความดี
คุณธรรมที่ว่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความดี ความสุข
และการกำหนดคุณค่าของคุณธรรม
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยยุตฺโต) (2540 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า
คุณธรรมเป็นคุณภาพของจิตใจกล่าวคือ คุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม
ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ เช่น
เมตตา คือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร
อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา คือ
ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุข
หรือก้าวหน้าในสิ่งที่ดีงาม
อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็นกลาง
เพื่อรักษาธรรม เมื่อผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาตามเหตุและผล
จึงอาจสรุป ความหมายของคุณธรรม คือ
หลักความประพฤติที่เป็นลักษณะนิสัยที่ดีงาม
ได้รับการสั่งสมหรือปฏิบัติตามกันมาจากจิตใจโดยมิได้ฝืนใจ ผลจากการกระทำ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ยึดถือโดยตรง
และส่งผลให้สังคมของการอยู่ร่วมกันมีความสุข และความเจริญงอกงาม หลักคุณธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับมนุษย์ที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เพราะคุณธรรมเป็นหลักแห่งความประพฤติ
ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและ ดีงาม มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่คุณงามความดีของสังคมโดยส่วนรวม
2.2 จริยธรรม (Ethics)
“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ
เกิดจากคุณธรรมในตัวเองก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติจริยธรรม (Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด
บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
จริยธรรมเป็นเรื่องที่นักการศึกษาและนักวิชาการสนใจที่จะศึกษา
เพื่อนำ มาแก้ปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย
และหาทางปลูกฝังให้บุคคลในสังคมมีจริยธรรมควบคู่ไปกับคุณธรรม
เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ในการศึกษาจริยธรรมได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายในทัศนะของตน ได้แก่
พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน (2546 ) ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรม หมายถึง
คุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามอันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของสังคม จริยธรรม จะมีได้ต้องปลูกฝึกหัดโดยเริ่มจากการปลูกฝังคุณธรรม (พระมหาอดิศร ถิรสีโล, 2540)
จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมที่เป็นรูปแบบของการปฏิบัติตน การดำเนินตนที่มีความเหมาะสมแก่ภาวะ ฐานะ กาลเวลา และเหตุการณ์ในปัจจุบัน(พระธรรมญาณมุนี, 2531 : 103)
จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ความประพฤติเหล่านี้ประกอบด้วย ศีลธรรม คุณธรรม เนติกรรม และ ธรรมเนียมประเพณี (สาโรช บัวศรี)
จริยธรรม หมายถึง
หลักของกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและค่านิยมที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่าสิ่งใดที่ถูกและสิ่งใดที่ผิด จริยธรรมจะสร้างมาตรฐานขึ้นมาว่าสิ่งไหนที่ดีหรือสิ่งไหนที่ไม่ดี
เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ (ชัยเศรษฐ์ พรหมศรี,
2549)
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2522 : 32-33) ให้ความหมายของจริยธรรมว่า หมายถึง
ลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมทางสังคมประเภทต่างๆ
ซึ่งสังคมต้องการให้มีในสมาชิก เป็นพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบให้การสนับสนุน
และผู้กระทำ ส่วนมากเกิดความพอใจว่า การกระทำ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
ระวี ภาวิไล (2522
: 8) กล่าวว่า จริยธรรม
หมายถึง
แนวทางความประพฤติและปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์
วิทย์ วิศทเวทย์ (2524
: 19) กล่าวว่า จริยธรรม คือ
พันธะหรือหน้าที่ที่เราปฏิบัติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางพระพุทธศาสนา จริยธรรม
คือการนำ เอาความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำ
เนินชีวิตที่ดีงาม ซึ่งจักก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
กมล ทองธรรมชาติ (2529 : 80-82) กล่าวว่า จริยธรรม คือ การกระทำ ทั้งกาย วาจา และใจ ที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยุร ธมฺมจิตฺโต) (2535 : 81-82) กล่าวว่าจริยธรรม คือ
หลักแห่งความประพฤติดีงามสำหรับทุกคนในสังคม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไป
เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เรียกว่า ศีลธรรม
แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว
แท้จริงนั้นยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี แม้นักปราชญ์คนสำคัญ เช่น
อริสโตเติล คานท์ มหาตมะคานธี
ก็มีส่วนสร้างจจริยธรรมสำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง
สำหรับนักการศึกษาต่างประเทศได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายในทัศนะของตน
ได้แก่
เพียเจต์ (Piaget 1960 : 160-161) มีทรรศนะว่า จริยธรรมเป็นลักษณะประสบการณ์ของมนุษย์
และหน้าที่ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการให้ความร่วมมือ
เกี่ยวกับการจัดเตรียมทางสังคมในเรื่องความสนใจ
และอนามัยของแต่ละบุคคลความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปของสิ่งที่ควรกระทำ และสิทธิ์
กู๊ด (Good 1973 : 89) กล่าวถึงจริยธรรมว่า หมายถึง
การปรับพฤติกรรมให้เข้ากับกฎเกณฑ์หรืมาตรฐานของความประพฤติที่ถูกต้องหรือดีงาม
โคลเบิร์ก (Kohlberg 1972 : 212) กล่าวถึงจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
เป็นกฎเกณฑ์และมาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในสังคมซึ่งบุคคลพัฒนาขึ้นจนกระทั่งมีพฤติกรรมเป็นของตนเอง
โดยสังคมจะเป็นตัวตัดสินผลของการกระทำ นั้นว่าเป็นการกระทำ ที่ถูกหรือผิด
องค์ประกอบของจริยธรรม นักจิตวิทยาและนักวิชาการได้จำแนกไว้ ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการ (2523 : 18) สรุปว่า จริยธรรมของบุคคลประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการ
ได้แก่
1. องค์ประกอบด้านความรู้
คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงามสามารถตัดสินแยก
ความถูกผิดได้ด้วยความคิด
2. องค์ประกอบด้านอารมณ์
ความรู้สึก คือ ความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่
จะรับจริยธรรมนั้นมาเป็นแนวปฏิบัติ
3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรมการแสดงออก
คือ พฤติกรรมที่บุคคลตัดสินในการที่จะกระทำ
ถูกหรือผิดในสถานการณ์แวดล้อมต่างๆ กัน
แต่จริยธรรมที่แท้จริงนั้นจะต้องมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขภายนอก
เช่น ทำ งานเพื่อผลของงานไม่ใช่เพื่อเงินและแนวคิดของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน
และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 : 4-6) แบ่งจริยธรรมออกเป็น 4 ด้าน
คือ
1. ความรู้เชิงจริยธรรม หมายถึง การบอกได้ว่าการกระทำ
ใดเลวควรงดเว้น ซึ่งความรู้เชิงจริยธรรมของคนเราจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ
ระดับการศึกษา และสติปัญญา
2. ทัศนคติเชิงจริยธรรม หมายถึง
ความรู้สึกเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นเพียงใด
ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น
และในเวลาต่างกัน ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงไป
3. เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง
การยกเหตุผลมาอ้างถึงการตัดสินใจที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึง
การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นไม่ไปแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน
ค่านิยม หรือกฎเกณฑ์ในสังคมนั้น
นอกจากนี้ บราวน์ (Brown 1965 : 411-412 ) มีความเห็นว่า จริยธรรมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
คือ ความรู้ (knowledge) ความรู้สึก (feeling) และความประพฤติ(conduct) ซึ่งสอดคล้องกับการจำแนกของ ฮอฟแมน (Hoffman 1979 : 958-966) ที่ว่ากระบวนการซึมซาบทางจริยธรรม (moral internalization) มี 3 กระบวนการที่เป็นอิสระจากกัน
คือ ความคิดทางจริยธรรม (moral
thought) ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling)และพฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)
องค์ประกอบของจริยธรรมข้างต้นนี้
คือลักษณะต่างๆ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
Ø
องค์ประกอบด้านสติปัญญา
Ø
องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก
Ø
องค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่แสดงออกมา
3.1 ลักษณะของจริยธรรม 4 ประการ คือ
1. การตัดสินทางจริยธรรม(moral judgment) บุคคลจะมีหลักการของตนเอง เพื่อตัดสินการกระทำของผู้อื่น
2. หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่จะปฏิบัติการต่าง
ๆ ลงไป
3. หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ตัดสินใจในการการะทำสิ่งต่าง
ๆ
4. ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็นทัศนะในการดำรงชีวิตของตน
และของสังคมที่ตนอาศัยอยู่
จะเห็นได้ว่า คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง
ในการแสดงออกทั้งกาย วาจาใจ ของแต่ละบุคคล
ซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย
ซึ่งอาจส่งผลให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและต่อการพัฒนาประเทศ
ชาติ จึงอาจสรุป ความหมายของจริยธรรมได้ว่า จริยธรรม คือ
แนวทางหรือกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม เป็นลักษณะที่สังคมต้องการ
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่น และสังคม
ทั้งนี้จะเห็นว่าความหมายทั้งคุณธรรมและจริยธรรมจะมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อพูดถึงคุณธรรมก็ย่อมหมายรวมถึงจริยธรรมด้วยเช่นกัน
อาจกล่าวได้ว่าบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนได้ตามความ
หมายอย่างหนึ่งอย่างใดนี้
จะเป็นบุคคลที่มีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในตนเอง เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคม
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม จริยธรรม เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า
คุณธรรม แต่ไม่เหมือนกัน เปรียบได้เหมือนด้านหัวด้านก้อยของเหรียญ คุณธรรมเกิดขึ้นที่จิตใจเป็นความรู้สึกนึกคิด
แล้วส่งผลต่อจริยธรรม ซึ่งเป็น เป็นการแสดงออกด้านพฤติกรรมต่างๆ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่แล้วมนุษย์ถ้ามีคุณธรรมย่อมมีจริยธรรมเสมอ
3.
แหล่งกำเนิดของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมและจริยธรรม
เป็นหลักการที่มนุษย์ในสังคมควรยึดถือปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นในสังคมตลอดมา
เนื่องจากมีความพยายามที่ต้องการสร้างหลักคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นสากลให้
บุคคลเกิดความรู้สึกในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมในแนวทางที่สอดคล้องกับ พฤติกรรม
แหล่งก่อกำเนิดของคุณธรรมจริยธรรมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ
คือ
3.1 แหล่งกำเนิดจากภายในตัวบุคคล แหล่งกำเนิดภายในตัวบุคคล อริสโตเติล (Aristotle) ได้แยกแยะแหล่งที่เกิดของคุณธรรมว่าเป็นคุณธรรมอันเกิดจากปัญญา
และคุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมและจริยธรรมว่า คุณธรรมอันเกิดจากปัญญา
เป็นคุณธรรมในระดับปัจเจกบุคคล กล่าวคือ
ผู้ที่มีสติปัญญามักจะสามารถพัฒนาจริยธรรมได้ด้วยหลักของการคิดไตร่ตรอง
ส่วนคุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมและจริยธรรมนั้น
เป็นคุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจริงด้วยการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกัน
เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่สภาวะของความเป็นสุข (จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. 2537) แหล่งกำเนิดนี้กล่าวถึงพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้มาจากธรรมชาติเป็นตัวกำหนด
ซึ่งแบ่งแยกออกเป็น 2 ประการ คือ
1) ตัวกำหนดมาจากพันธุกรรมที่ส่งทอดมาจากบรรพบุรุษ
มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยคุณภาพของสมองที่จะพัฒนาขึ้นเป็นความเฉลียวฉลาดด้าน
ปัญญาโดยได้รับการถ่ายทอดส่วนนี้มาจากบรรพบุรุษโดยผ่านกระกระบวนการทางพันธุ กรรม
การพัฒนาของสมองจะดำเนินไปตามรหัสพันธุกรรมที่กำหนดไว้ตั้งแต่เกิด
แม้ว่าการพัฒนาด้านการคิดและสติปัญญาจะเจริญพัฒนาต่อมาภายใต้อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม
แต่คุณภาพของสมองที่บุคคลได้รับจะเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ดังเช่น
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเองด้วยปัญญาของพระองค์
แต่การเกิดมโนธรรมในมนุษย์
พระองค์ได้ทรงแบ่งประเภทของบุคคลออกเป็นดอกบัวประเภทต่าง ๆ บุคคลที่เป็นประเภทดอกบัวที่อยู่บานชูช่อเหนือน้ำ คือ
บุคคลที่สามารถเรียนรู้และประจักษ์ในความดีและความชั่วด้วยปัญญานั่นเอง
ส่วนบุคคลที่เป็นประเภทดอกบัวประเภทอื่น ๆ ก็อาจสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีได้ด้วยการอบรมสั่งสอนตามระดับความสามารถของสติปัญญา
นอกจากนี้ สัญชาตญาณแห่งชีวิต (Life instinct) ของมนุษย์
ทำให้มนุษย์คิดหาแนวทางในการที่จะมีชีวิตอยู่รอด และการมีสติปัญญาในระดับที่สูง
ทำให้มนุษย์สามารถคิด พิจารณา และแยกแยะเหตุและผลได้เพื่อมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนj
2) ตัวกำหนดมาจากสภาพจิต
จากแนวความคิดที่ว่าจริยธรรมมีแหล่งกำเนิดจาก ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ซึ่งเกิดขึ้นจากมโนธรรมที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น
แหล่งกำเนิดของคุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นคุณภาพของสมองในการคิด และคุณภาพของจิตที่สามารถแยกแยะความถูก
ความผิดได้เป็นพื้นฐาน สภาพของจิตนั้นทำให้บุคคลจดจำสิ่งที่เป็นเคียดแค้น
บาดหมางใจ หรือรู้สึกผิดตลอดเวลากับการตัดสินที่พลาดพลั้งไป
ดังนั้นสภาพจิตก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่อาจนำไปสู่การมีคุณธรรมและจริยธรรมและการขาดคุณธรรมและจริยธรรมได้เท่า
ๆ กัน
แต่อย่างไรก็ตามคุณธรรมและจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับสติปัญญา
นักบริหารการศึกษาที่มีคุณสมบัติด้านสติปัญญาย่อมได้เปรียบในด้านความคิดและการแสวงหาเหตุผล
และสามารถพิจารณาผลที่จะบังเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้ นักบริหารที่มีสติปัญญาในระดับสูงจะเป็นผู้ที่สามารถคิดแก้ปัญญาโดยยึดหลัก
เหตุผลที่ให้ประโยชน์สุขแก่ตนเองและไม่ทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อนในภาย หลังได้
ซึ่งกล่าวได้ว่าเกิดเป็นผลประโยชน์ที่ยังความสุขมาให้อย่างยั่งยืน
3 .2 แหล่งกำเนิดภายนอกตัวบุคคล แหล่งกำเนิดภายนอกตัวบุคคล
ส่วนสาเหตุภายนอกตัวบุคคล ดวงเดือน พันธุมนาวิน
(2538) กล่าวว่า ในการที่บุคคลนั้นจะทำความดี
หรือละเว้นการกระทำที่ไม่น่าพึงปรารถนามากน้อยเพียงใดนั้น สาเหตุที่สำคัญ คือ
คนรอบข้าง กฎระเบียบ สังคม วัฒนธรรมและสถานการณ์ที่บุคคลประสบอยู่
นอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การมีหรือการขาดแคลนสิ่งเอื้ออำนวยในการทำงาน ตลอดจนบรรยากาศทางสังคมในที่ทำงาน
กลุ่มเพื่อนและวัฒนธรรมในองค์กร จะมีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน และสุขภาพจิต
ตลอดจนความสุขความพอใจในการทำงาน ส่วน วริยา ชินวรรโณ (2546) ได้อธิบายถึงอิทธิพลที่เป็นผลต่อการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในประเทศไทยซึ่งเริ่มมีขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของแหล่งคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งสามารถนำมาอธิบายได้
ดังนี้
1. จริยธรรมตามหลักนิติรัฐ ยึดหลักการว่า การบริหารงานใดได้ดำเนินการถูกต้องตามบทกฎหมายถือว่าการบริหารงานนั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรม
แต่เนื่องจากจริยธรรมที่ต้องปฏิบัติมีมากมาย
กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่เพียงพอในการกำกับพฤติกรรมการบริหารงานให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมได้ทุกกรณี ส่วนในเรื่องของกฎหมายในปัจจุบัน
นักบริหารต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายอย่างเป็นธรรม กฎหมายบ้านเมืองเป็นตัวกำหนดคุณธรรมและจริยธรรมในด้านการกระทำต่อกันในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
เพื่อขจัดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในประเทศนั้น ๆ
ประชาชนจำเป็นจะต้องเรียนรู้และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นเป็นกฎหมาย
สำหรับประชาชนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเรื่องของ คุณธรรมและจริยธรรม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538) พบว่า
การที่บุคคลรู้ว่าอะไรดีอะไรเหมาะสมและสำคัญนั้นไม่เพียงพอ
ที่จะทำให้เขามีพฤติกรรมตามนั้นได้ เพราะคนที่ทำผิดกฎหมาย เช่น
ไปลักทรัพย์หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ไม่ได้ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แต่ทำไปทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผิด
เพราะหลังจากที่กระทำลงไปแล้วก็จะหลบหนีซ่อนตัวเพราะกลัวถูกจับมาลงโทษนั่นเอง
นักบริหารก็เช่นกัน เมื่อรู้ตัวว่ากระทำผิดมักจะรู้แก่ใจและมักจะแสดงพฤติกรรมอื่น
ๆ เพื่อกลบเกลื่อน
2. จริยธรรมตามมาตรฐานจริยธรรม ยึดหลักความพยายามแสวงหา
ว่า ความดีที่ควรยึดถือควรเป็นอย่างไร แล้วนำมาใช้เป็นมาตรฐานจริยธรรม กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ
ความครอบคลุมกว้างขวางกว่าจริยธรรมตามหลักนิติรัฐ
แต่แนวคิดนี้ก็ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ขาดบทบังคับการลงโทษเมื่อมีการละเมิดเช่น เบญจศีล (ศีล 5 การเว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม) เป็นข้อพึงละเว้น ของผู้ครองเรือน
เพื่อความสงบสุขในสังคม ได้แก่
1) เว้นจากการทาลายชีวิต
2) เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4) เว้นจากการพูดเท็จ
5) เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
เบญจธรรม (ธรรม 5 ประพฤติดีหรือทาตามคาแนะนาสั่งสอน) เป็นข้อพึงปฏิบัติของผู้ครองเรือน 5 ประการได้แก่
1) พึงมีเมตตา กรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง
2) พึงประกอบสัมมาอาชีวะ
(อาชีพสุจริต)
3) พึงสังวรณ์ในกาม
(เฉพาะคู่ครองของตน)
4) พึงมีสัจจะ
5) พึงมีสติ สัมปชัญญะ
3. 3 แหล่งกำเนิดคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพทางการศึกษา
1. แหล่งศาสนา ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของคำว่า จริยธรรม ศีลธรรม และคุณธรรม จนกลายเป็นบทบัญญัติที่เป็นกฎ ระเบียบ จรรยาบรรณในวิชาชีพต่าง ๆ แนวคิดทางศาสนา ทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ
มุ่งสอนให้มนุษย์ดำเนินชีวิตในทางที่ดี มนุษย์จึงได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสดาเพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะที่ดีงามและมีความเป็นคนสมบูรณ์แบบ (The perfect one) คำว่า “คนสมบูรณ์แบบ” ในทัศนะของแต่ละศาสนามีความหมายแตกต่างกัน คือ
ในทัศนะของศาสนาอิสลาม คนสมบูรณ์แบบ ได้แก่ คนที่มีคุณลักษณะเช่น
เดียวกับพระอัลเลาะห์ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนา เช่น มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
พึ่งตนเอง ให้อภัยผู้อื่น ให้เกียรติผู้อื่น ให้ความสุขแก่ผู้อื่น ฯลฯ
ในทัศนะของคริสต์ศาสนา ศาสนาคริสต์กล่าวถึงความสมบูรณ์แบบของการเป็นคนว่า จะพบในพระเจ้าผู้เป็นท่อธารแห่งชีวิต เป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทาง ดังนั้น การเป็นคนสมบูรณ์แบบในอุดมคติ จึงได้แก่ การเป็นผู้บริบูรณ์เหมือนพระบิดาเจ้าสวรรค์
ในทัศนะของพุทธศาสนา คนที่สมบูรณ์แบบที่สุด ได้แก่ พระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้บรรลุภูมิธรรมขั้นสูงทางศาสนา แต่สำหรับปุถุชนหรือคนธรรมดาทั่วไป คนสมบูรณ์แบบหมายถึงผู้ที่รักษาศีล 5 และมีธรรมของสัตบุรุษ หรือที่เรียกว่า สัปปุริสสธรรม 7 ประการ (พระเทพเวที, 2532) จริยธรรม ในความหมายของทางพุทธศาสนา ได้กล่าวว่า “จริยธรรม”
หมายถึง สิ่งที่ทำได้ในทางวินัย จนเกิดความเคยชินขึ้นมา มีพลังใจ มีความตั้งใจแน่วแน่
มีความประทับใจ ซึ่งจริยธรรมจะต้องอาศัยปัญญา โดยมี หิริโอตตัปปะ เป็นคุณธรรมพื้นฐาน
"หิริ" คือ การละอายต่อการทำชั่ว
"โอตตัปปะ"เป็นคุณธรรมในระดับปัจเจกบุคคล ผู้ที่มีสติปัญญาจะสามารถพัฒนาจริยธรรมได้ด้วยหลักของการคิดไตร่ตรอง
2.
แหล่งปรัชญา โดยเฉพาะสาขาที่เป็นคุณค่าวิทยา ซึ่งได้แก่ จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ศีลธรรม และ ปรัชญาการศึกษา
3. แหล่งจริยธรรม ประเพณีทางสังคม เช่น กฎหมาย ค่านิยม วิถีประชา ภาษา ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม เป็นต้น (สุภัทร ปัญญาทีป ,2546)
4.
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักบริหารในสถานศึกษา
นักบริหารที่ดีต้องประกอบด้วย
คุณสมบัติดังต่อไปนี้
4.1
เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี (Good Personality) คือ เป็นผู้มีสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตที่ดี
4.1.1 มีสุขภาพกายที่ดี คือ
เป็นผู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีท่วงท่ากิริยา
รวมทั้งการแต่งกาย ที่สุภาพ เรียบร้อยดีงาม สะอาด และดูสง่างามสมฐานะ
4.1.2 มีสุขภาพจิตที่ดี คือ เป็นผู้มีอัธยาศัยใจคอที่งาม เป็นคนดี มีศีลธรรม ได้แก่ ศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา กับทั้งมีกัลยาณมิตรธรรม
คือมีคุณธรรมของคนดี ดังต่อนี้
เป็นผู้มีศรัทธา หมายถึง
เป็นผู้รู้จักศรัทธาบุคคล และข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา
ไม่ลุ่มหลงงมงายในที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง
เป็นผู้มีศีล คือ ผู้ที่รู้จักสำรวมระวัง
ความประพฤติปฏิบัติ ทางกาย และทางวาจา ให้
เรียบร้อยดีงาม ไม่ประพฤติเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เป็นผู้มีสุตะ คือ ผู้ได้เรียนรู้ทางวิชาการ
และได้ศึกษาค้นคว้าในวิชาชีพดี
เป็นผู้มีจาคะ คือ เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง
ไม่คับแคบ รู้จักเสียสละ
เป็นผู้มีวิริยะ คือ ผู้ขยันหมั่นเพียร
ในการประกอบกิจการงานงานอาชีพ และ/หรือ ในหน้าที่รับผิดชอบ
เป็นผู้มีสติ คือ ผู้รู้จัก ยับยั้ง ชั่งใจ
รู้จักคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนคิด พูด
ทำ
เป็นผู้มีสมาธิ คือ ผู้มีจิตใจตั้งมั่น
ข่มกิเลสนิวรณ์
เป็นผู้มีปัญญา
คือ ผู้ที่รอบรู้กองสังขาร ผู้รอบรู้สภาวธรรมที่ระกอบด้วยปัจจัย
ปรุงแต่ง (สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงบแต่ง
(วิสังขาร คือพระนิพพาน) ผู้รู้แจ้งพระอริยสัจ
4 รวมเป็น ผู้มีปัญญาอันเห็นชอบรอบรู้ทางเจริญ
ทางเสื่อม แห่งชีวิต ตามที่เป็นจริง
เป็นผู้มีกัลยาณมิตรธรรม คือ ผู้มีคุณธรรมของมิตรที่ดี 7 ประการ คือ
1) เป็นผู้น่ารัก (ปิโย) คือ เป็นผู้มีจิตใจกอปรด้วยเมตตากรุณาพรหมวิหาร
2) เป็นผู้น่าเคารพบูชา (ครุ)
คือ เป็นผู้ที่สามารถเอาเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่พึ่งทางใจ
3) เป็นผู้น่านับถือ น่าเจริญใจ
(ภาวนีโย) ด้วยว่า เป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนมาดี แล้ว ควรแก่การยอมรับและยกย่องนับถือ
เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้
4) เป็นผู้รู้จักพูดจาโดยมีเหตุผลและหลักการ (วัตตา) รู้จักชี้แจง แนะนำ ให้ผู้อื่น
เข้าใจดี แจ่มแจ้ง เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำที่ล่วงเกิน
วิพากษ์ วิจารณ์ ซักถาม หรือขอปรึกษา หารือ ขอให้คำแนะนำต่างๆ ได้ (วจนักขโม)
6) สามารถแถลงชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้ง หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจอย่าง ถูกต้อง และตรงประเด็นได้ (คัมภีรัญ จะ กะถัง กัตตา)
7) ไม่ชักนำในอฐานะ (โน จัฏฐาเน
นิโยชะเย) คือไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม (อบายมุข) หรือไปในทางที่เหลวไหล ไร้สาระ หรือที่เป็นโทษ เป็นความทุกข์ เดือดร้อน
เป็นผู้มีหลักธรรมในการครองงานที่ดี
ด้วยคุณธรรม คือ อิทธิบาทธรรม ได้แก่
1 ฉันทะ ความรักงาน คือ จะต้องเป็นผู้รักงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ และทั้งจะต้อง
เอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน
และมุ่งมั่น
ที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ
2 วิริยะ ความเพียร คือ จะต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบด้วยความอดทน
ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพของตน
จึงจะถึงความสำเร็จและ ความเจริญก้าวหน้าได้
3 จิตตะ
ความเป็นผู้มีใจจดจ่ออยู่กับการงาน ผู้ที่จะทำงานได้สำเร็จด้วยดี
มีประสิทธิภาพ นั้น จะต้องเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำ
และมุ่งกระทำงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ ไม่ทอดทิ้งหรือ วางธุระเสียกลางคัน ไม่เป็นคนจับจด
หรือทำงานแบบทำๆ หยุดๆหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่
“ติดตามผลงาน และ/หรือ ตรวจงาน” หน่วยงานต่างๆ
ภายในองค์การของตน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
ตัดสินใจ และสั่งการ ให้กิจการงาน
ทุกหน่วยดำเนินตามนโยบายและแผนงาน ให้ถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4
วิมังสา ความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการปฏิบัติงานของตนเอง และของผู้น้อยหรือของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ว่า ดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้หรือไม่ ได้ผล สำเร็จหรือมีความคืบหน้าไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไร
มีอุปสรรคหรือปัญหาที่ควรได้รับ การปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงาน
หรือวิธีการบริหารกิจการงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร
ขั้นตอนนี้เป็นการนำข้อมูลจากจากที่ได้ติดตามประเมินผลงานหรือตรวจงานนั้นแหละมาวิเคราะห์วิจัย
ให้ทราบ เหตุผลของปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องในการทำงาน
แล้วพิจารณาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และปรับปรุงพัฒนา
วิธีการทำงานให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ให้ถึงความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ
ขึ้นไปได้
เป็นผู้รู้จักหลักปฏิบัติต่อกันด้วยดี
ระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชา
ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ชื่อ “เหฏฐิมทิศ”
มีเนื้อความว่า
“เหฏฐิมทิศ” คือ ทิศเบื้องต่ำ
เจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชา พึงบำรุงบ่าว
คือผู้ใต้บังคับ บัญชา ด้วยสถาน 5 คือ
1 ด้วยการจัดงานให้ตามกำลัง
กล่าวคือ มอบหมายหน้าที่การงานให้ตามกำลัง ความรู้ สติปัญญา
ความสามารถ (Put the right man on the right job - รู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน)
2 ด้วยการให้อาหารและบำเหน็จรางวัล
กล่าวคือ เมื่อทำดี ก็รู้จักยกย่องชมเชย
และ/หรือ สนับสนุน อุดหนุน
ให้ได้รับบำเหน็จรางวัล เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ตามสมควรแก่ฐานะ เมื่อทำ ไม่ดี ก็ให้คำตักเตือน แนะนำ สั่งสอน
ให้พัฒนาสมรรถภาพให้ดีขึ้น ถ้าไม่ยอมแก้ไขพัฒนาตนให้ดีขึ้น
ก็ ต้องตำหนิ และมีโทษตามกฎเกณฑ์
โดยชอบธรรม
3 ด้วยการรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้
กล่าวคือ ต้องรู้จักดูแลสารทุกข์ สุกดิบ ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ไม่เป็นผู้แล้งน้ำใจ คือไม่ปฏิบัติกับลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
4 ด้วยแจกของมีรสดีแปลกๆ
ให้กิน หมายความว่า ให้รู้จักมีน้ำใจแบ่งปันของกิน
ของใช้ดีๆ ให้ลูกน้อง
5
ด้วยปล่อยในสมัย คือ
รู้จักให้ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ลาพักผ่อนบ้าง
ส่วนบ่าว หรือลูกน้องผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เมื่อเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชา ทำนุบำรุง
อย่างนี้แล้ว ก็พึงปฏิบัติอนุเคราะห์เจ้านาย
ผู้บังคับบัญชาด้วยสถาน ๕ ตอบแทนด้วยเช่นกัน
คือ
(1) ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย คือ
ให้รับสนองงานผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันขันแข็ง ควรมาทำงานก่อนนาย
หรือผู้บังคับบัญชา อย่างน้อย
ก็มาให้ทันเวลาทำงาน ไม่มาสายกว่านาย
หรือ สายกว่าเวลาทำงานตามปกติ
(2) เลิกการทำงานทีหลังนาย คือ
ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง แม้เลิก ก็ควรเลิก ทีหลังนาย หรือผู้บังคับบัญชา
อย่างน้อยก็อยู่ทำงานให้เต็มเวลา ไม่หนีกลับก่อนเวลาเลิกงาน
(3) ถือเอาแต่ของที่นายให้ คือ
มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่คดโกงนาย หรือผู้บังคับ บัญชา ไม่คอร์รัปชั่น
ไม่เรียกร้องต้องการโดยไม่เป็นธรรม หรือเกินเหตุ
(4) ทำงานให้ดีขึ้น คือ
ต้องรู้จักพัฒนาคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ และวิสัยทัศน์ใน การทำงาน ให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพสูง
(5) นำคุณของนายไปสรรเสริญ คือ
รู้จักนำคุณความดีของเจ้านาย ผู้บังคับบัญชาไป ยกย่อง สรรเสริญ ตามความเป็นจริง
ในที่และโอกาสอันสมควร
กล่าวโดยย่อ ผู้บังคับบัญชา กับ
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา พึงปฏิบัติต่อกัน ดังคำนักปกครอง
นักบริหารแต่โบราณ กล่าวว่า
“อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย”
“อยู่สูงให้นอนคว่ำ” หมายความว่า
เป็นผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้นำคน พึงดูแลเอาใจใส่ ทำนุบำรุง
ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องด้วยดี คือด้วยความเป็นธรรม
ตามหลักธรรมของ พระพุทธเจ้า ตามที่กล่าวข้างต้นนี้
เพื่อให้ลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา มีขวัญกำลังใจในการสนองงาน
ได้เต็มที่ อย่าให้ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เกิดความรู้สึกท้อถอย ว่าทำดีสักเท่าใด
ผู้ใหญ่ ก็ไม่เหลียวแล ดังคำโบราณท่านว่า
มีปาก ก็มีเปล่า เหมือนเต่าหอย
เป็นผู้น้อย แม้ทำดี ไม่มีขลัง
หรืออย่าให้ลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่า ผู้ใหญ่ไม่
ยุติธรรม มักเลือกปฏิบัติไม่เสมอกัน ดังคำที่ว่า
(เรา) ทำงานทั้งวัน ได้พันห้า
(ส่วนคนอื่น) เดินไปเดินมา ได้ห้าพัน
“อยู่ต่ำให้นอนหงาย” หมายความว่า
ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ก็พึงปฏิบัติตน
ต่อเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชาด้วยดี รับสนองงานท่านด้วยความยินดี
ด้วยใจจริง และทำงานด้วย ความเข้มแข็ง ตามหลักธรรม คือ “เหฏฐิมทิศ” ดังที่กล่าวมาแล้ว
เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
(Human Relation) ที่ดี ด้วยคุณธรรม คือ พรหม-วิหารธรรม และสังคหวัตถุ
เป็นต้น
พรหมวิหารธรรม คุณธรรมเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่
4 ประการ
(1) เมตตา คือ ความรัก
ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
(2) กรุณา คือ ความสงสาร
ปรารถนาให้ผู้มีทุกข์ เดือดร้อน ให้พ้นทุกข์
(3) มุทิตา คือ ความพลอยยินดี
ที่ผู้อื่นได้ดี ไม่คิดอิจฉาริษยากัน
(4) อุเบกขา คือ ความวางเฉย
ไม่ยินดียินร้าย เมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ โดยที่เรา ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวางใจของเราเองด้วยปัญญา
ตามพระพุทธพจน์ว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม”
สังคหวัตถุธรรม 4 ประการ คือ
(1) ทาน รู้จักให้ปัน สิ่งของ
ของตน แก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
(2) ปิยวาจา รู้จักเจรจาอ่อนหวาน
คือ กล่าวแต่วาจาที่สุภาพอ่อนโยน
(3) อัตถจริยา รู้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
(4) สมานัตตตา เป็นผู้มีตนเสมอ
คือ ไม่ถือตัวเย่อหยิ่ง จองหอง อวดดี
คุณธรรม 4 ประการนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้ และยังความสมัคร
สมานสามัคคี ให้เกิดขึ้นระหว่างกันและกันด้วย
หรือจะเรียกว่า เป็น “หลักธรรมมหาเสน่ห์” ก็ได้
เป็นผู้มีความคิดริเริ่ม (Initiatives) ด้วยความคิดสร้างสรรค์
(Creative) โครงการใหม่ๆ
ที่เป็นประโยชน์สุขแก่หมู่คณะ สังคม และประเทศชาติ และวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้การ ปกครองการบริหาร
กิจการงานได้บังเกิดผลดี มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
เป็นนักคิดพัฒนา (Development) คือ เป็นนักพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ล้าหลัง หรือข้อบกพร่องในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
เป็นผู้มีสำนึกในภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Sense of
Responsibilities) สูง คือ
มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้
เพิ่มพูนศักยภาพ และสำนึก
ในการสร้างฐานะของตน และมีสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
คือต่อครอบครัว ต่อ องค์กรและหมู่คณะที่ตนรับผิดชอบอยู่
และต่อสังคมประเทศชาติ ให้เจริญสันติสุขและมั่นคง
โดย เฉพาะอย่างยิ่ง สำนึกในหน้าที่รับผิดชอบต่อสถาบันหลักทั้ง
3 ของประเทศชาติไทยเรา คือ
สถาบัน ชาติ 1 สถาบันพระพุทธศาสนา1 และสถาบันพระมหากษัตริย์ 1 เพราะสถาบันหลักทั้ง
3 นี้ หาก สถาบันใดคลอนแคลน
ไม่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นเพราะถูกศัตรูภายใน
และ/หรือ ศัตรูจากภายนอกรุกราน ย่อม กระทบกระเทือนถึงสถาบันหลักอื่นๆ ของขาติไทยเรา ให้พลอยคลอนแคลนอ่อนแอไปด้วย
ผู้นำที่ดี จึงย่อมต้องสำเหนียก
และจักต้องมีความสำนึก ในหน้าที่ความรับผิดชอบ
ต่อสถาบันหลักทั้ง 3 นี้ อย่างจริงใจ และจะต้องรับช่วยกันดำเนินการ
ให้ความคุ้มครอง ป้องกัน แก้ไข บำรุงรักษา อย่างเข้มแข็งจริงจัง
และต่อเนื่อง ให้เกิดความเจริญ และความสันติสุขอย่างมั่นคง ให้ได้
เป็นผู้มีความมั่นใจตนเอง (Self
Confidence) สูง
นี้หมายถึง มีความมั่นใจโดยธรรม
คือมีความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ สติปัญญาและวิสัยทัศน์
และทั้งคุณธรรม คือความเป็นผู้มีศีล
มีธรรม อันตนได้ศึกษาอบรมมาดีแล้ว มิใช่มีความมั่นใจอย่างผิดๆ ลอยๆ อย่างหลงตัวหลงตน ทั้งๆ ที่ แท้จริง ตนเองหาได้มีคุณสมบัติและคุณธรรมดีสมจริงไม่
และจักต้องรู้จักแสดงความมั่นใจ ในเวลา คิด พูด ทำ ให้เหมาะสมกับกาละ เทศะ บุคคล สถานที่ และประชุมชน ด้วย
เป็นผู้ประกอบด้วย “หลักธรรมาภิบาล” คือ คุณธรรมของนักปกครองนักบริหารที่ดี (Good
Governance) คือ
(1) หลักความถูกต้อง
คือ มีการพิจารณาวินิจฉัยปัญหา การทำการตัดสินใจ
(Decision Making) และสั่งการ (Command) ด้วยความถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และกฎระเบียบข้อบังคับ
ขององค์กร ที่ออกตามกฎหมาย ถูกต้องตามหลักศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของสังคม
ถูกต้อง ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ และถูกต้องตรงประเด็นตามหลักวิชา และได้รับความพึงพอใจ
จากชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(2) หลักความเหมาะสม
คือ รู้จักคิด พูด ทำ กิจการงาน และปฏิบัติงานได้เหมาะสม
ถูกกาละ เทศะ บุคคล สังคม และสถานการณ์ กล่าวคือ
เป็นผู้มีสัปปุริสธรรม คือ คุณธรรมของสัตบุรุษ คือคนดีมีศีลธรรม
มี 7 ประการ คือ
1) ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ ได้แก่ ปัญญารู้เหตุแห่งทางเจริญ และทางเสื่อม
เป็นต้น
2) อัตถัญญุตา รู้จักผล ได้แก่ ปัญญารู้ผล ที่เป็นมาแต่เหตุ
หรือปัจจัยให้เกิดผลต่างๆ ตามที่เป็นจริง
3) อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ภูมิธรรม ภูมิปัญญา และฐานะของตน ตามที่เป็นจริง แล้ววางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ
4)
มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ปฏิบัติตน วางตน ให้เหมาะสมแก่ฐานะ และรู้จักประมาณ
ในการบริโภคใช้สอยทรัพย์ที่มีอยู่ และตามมีตามได้
5) กาลัญญุตา รู้จักกาล คือ รู้จักเวลา หรือโอกาสที่ควร และไม่ควรพูด หรือกระทำ การต่างๆ
6) ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ว่ามีอัธยาศัยใจคอ
ฐานะความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียม ประเพณี ของหมู่ชนต่างๆ เพื่อให้รู้จักวางตัวให้เหมาะสม
7) ปุคลัญญุตา รู้จักบุคคล
ว่ามีอัธยาศัยใจคอ มีภูมิธรรม ภูมิปัญญา และมีฐานะ อย่างไร
เพื่อปฏิบัติตน หรือวางตน ให้เหมาะสมตามฐานะของเราและของเขา
(3) หลักความบริสุทธิ์
คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ กระทำกิจการงาน ด้วยความบริสุทธิ์ ใจ
คือ ด้วยเจตนา ความคิดอ่าน ที่บริสุทธิ์
(4) หลักความยุติธรรม คือ มีการวินิจฉัย สั่งการ และปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยความชอบธรรม
บนพื้นฐานแห่งหลักธรรม หลักการ เหตุผล และข้อมูลที่ถูกต้อง
เชื่อถือได้ และตรงประเด็น และด้วยความเที่ยงธรรม
คือ ไม่อคติ เป็นผู้ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ 4 ประการ อคติ แปลว่า ไม่ใช่ทางไป
ไม่ใช่ทางเดิน ไม่ควรไป ไม่ควรเดิน ในภาษาไทยหมายความถึง ความลำเอียง
ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรม อคติเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส
ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม
มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ
ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง
ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ
พุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ
คือ
1. ฉันทาคติ ความละเอียงเพราะความรักใคร่ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม
เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน ซึ่งมักเกิดกับตนเอง ญาติพี่น้อง และคนสนิทสนม
การแก้ฉันทาคติ ต้องทำใจให้เป็นกลาง โดยการปฏิบัติต่อทุกคนให้เหมาะสมเหมือนๆกัน
2. โทสาคติ ความละเอียงเพราะความไม่ชอบ เกลียดชัง หรือโกรธแค้น
หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะความโกรธ หรือลุอำนาจโทสะ การแก้ไขโทสาคติ ทำได้ด้วยการทำใจให้หนักแน่น
รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และพยายามแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน
3. โมหาคติ ความละเอียงเพราะความไม่รู้ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หมายถึง การทำให้เสียความรู้สึกธรรมเพราะความสะเพร่า ความไม่ละเอียดถี่ถ้วน รีบตัดสินใจก่อนพิจารณาให้ดี
วิธีแก้ไข ทำด้วยการเปิดใจให้กว้าง ทำใจให้สงบ มองโลกในแง่ดี
และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
4. ภยาคติ ความละเอียงเพราะความกลัว หมายถึง
การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัว หรือเกรงกลัวภยันตราย
วิธีแก้ทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม
คือ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม
คุณธรรมจริยธรรมตามแนวพระบรมราโชวาท
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2546
ให้โรงเรียนเป็นนิติ
บุคคล (โรงเรียนเป็นนิติบุคคล
คือการบริหารจัดการของสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ให้บริการการศึกษาแก่ประชาชนและเป็นสถานศึกษาของรัฐ) ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนในปัจจุบันนี้จึงต้องนำหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
ซึ่งเรียกว่า “ หลักธรรมาภิบาล ” มาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา
เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในฐานะนิติบุคคล ซึ่งหลักการดังกล่าวที่ผู้บริหารโรงเรียนควรคำนึงถึงในการบริหารโรงเรียนให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลโดยรวมอย่างสูงสุด
คือ
1. หลักนิติธรรม
กฎระเบียบที่ชอบธรรมไม่ลิดรอนสิทธิ์ ใช้บังคับเสมอหน้า ไม่เลือกปฏิบัติฯลฯ
2. หลักคุณธรรม ความดีงาม เมตตา-กรุณา ฯลฯ
3. หลักความโปร่งใส รู้ข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบได้
ฯลฯ
4. หลักการมีส่วนร่วม ทั้งโดยตรง/อ้อม
เสนอความคิดเห็นประชาพิจารณ์ ฯลฯ
5. หลักความรับผิดชอบ ความสำนึกต่อสังคม
มีความพร้อมถูกตรวจสอบ ฯลฯ
6. หลักความคุ้มค่า
การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลัก “ธรรมาภิบาล” นี้ เมื่อกระจายเป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สำหรับพระราชา
มหากษัตริย์ที่ทรงใช้ปกครองพระราชอาณาจักร ให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข
ชื่อว่า “ทศพิธราช ธรรม” อันผู้ปกครอง/ผู้บริหารประเทศชาติทุกระดับ และแม้ผู้บริหารองค์กรอื่นๆ
พึงใช้ประกอบการปฏิบัติ งานของตน ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม ได้เป็นอย่างดี
“ทศพิธราชธรรม” อันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงคุณอันประเสริฐของเรา ได้
ทรงถือเป็นหลักปฏิบัติ ในการครองพระราชอาณาจักร
ให้พสกนิกรของพระองค์อยู่เย็นเป็นสุข เป็นที่
ประจักษ์ตา ประจักษ์ใจแก่ชนชาวโลกเสมอมานั้น
มี 10 ประการ ตามพระพุทธภาษิตดังต่อไปนี้
คือ
1) ทาน
การให้
2) ศีล
การสังวรระวังกายและวาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ
3) ปริจจาคะ การเสียสละ
4) อาชชวะ ความซื่อตรง
5) มัททวะ ความสุภาพอ่อนโยน
6) ตปะ
ความเพียรเพ่งเผากิเลส
7) อักโกธะ ความไม่โกรธ
8) อวิหิงสา การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดทั้งสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก
9) ขันติ
ความอดทน
10) อวิโรธนะ ความประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิดทำนองคลองธรรม
และดำรงอาการคงที่
ไม่หวั่นไหว ด้วยอำนาจยินดียินร้าย
5.
การสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
ผู้บริหาร นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทในการ
กำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงาน แนวการปฏิบัติ และเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่นที่อยู่ภายในองค์กร
หากผู้บริหารเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกในการวางนโยบายและยึดแนวทางในการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม อีกทั้งรู้จักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
และมีจริยธรรม ย่อมส่งผลมีมายังองค์กรและสังคมโดยส่วนรวม
ปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจและคุณธรรม
จริยธรรม ทำให้ผู้นำหรือผู้บริหารทุกระดับต้องปรับกระบวนทัศน์และวิธีคิดใหม่ เนื่องจากปัจจัย สิ่งแวดล้อม อาจส่งผล
ทำให้การเสริมสร้าง และพัฒนาจิตสำนึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรมขาดความสมบูรณ์ ซึ่งการปลูกฝังหรือสร้างจิตสำนึกในด้านคุณธรรมนั้น จะต้องมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
นักบริหารที่มีคุณธรรมนั้น ควรมีลักษณะที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ ดังนี้
ทำให้การเสริมสร้าง และพัฒนาจิตสำนึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรมขาดความสมบูรณ์ ซึ่งการปลูกฝังหรือสร้างจิตสำนึกในด้านคุณธรรมนั้น จะต้องมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
นักบริหารที่มีคุณธรรมนั้น ควรมีลักษณะที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ ดังนี้
1. มีความรู้และเป็นผู้มองการณ์ไกล สามารถวางแผนงานให้เหมาะ รู้จักงาน รู้จักตนเอง และผู้อื่น ใช้ได้กับบุคคลต่าง ๆ ในทุกสถานภาพ ผู้บริหารระดับสูงต้องมีสติปัญญา
2. มีความเชี่ยวชาญ แม่นยำ มั่นคงต่องานที่ตนบริหารอยู่
3. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถผูกใจคนได้ทั้งผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ การมีมนุษย์สัมพันธ์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงใจให้เกียรติทั้งต่อหน้าและลับหลัง ผู้บริหารที่มีความพร้อมในด้านนี้ จะสามารถบริหารกิจการได้อย่างราบรื่น เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย นับว่าคุณธรรมข้อนี้สำคัญมาก จะต้องอยู่ในตัวผู้นำทุกระดับไม่ว่าระดับสูง กลาง หรือระดับพื้นฐาน
3. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถผูกใจคนได้ทั้งผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ การมีมนุษย์สัมพันธ์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงใจให้เกียรติทั้งต่อหน้าและลับหลัง ผู้บริหารที่มีความพร้อมในด้านนี้ จะสามารถบริหารกิจการได้อย่างราบรื่น เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย นับว่าคุณธรรมข้อนี้สำคัญมาก จะต้องอยู่ในตัวผู้นำทุกระดับไม่ว่าระดับสูง กลาง หรือระดับพื้นฐาน
สำหรับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การบริหารงานจนบรรลุเป้าหมายสูงสุด
นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำตัวด้วย แยกความสำคัญและรายละเอียดเป็น 4 ข้อ ดังนี้
1. นักบริหารต้องมีความรอบรู้
รอบรู้ถึงงานในหน้าที่ ตลอดถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง
นักบริหารต้องเริ่มต้นบริหารตนเอง บริหารคน และบริหารงานให้เป็น ต้องเป็นคนอ่านมาก ฟังมาก เกาะติดกับสถานการณ์รอบด้าน เมื่อได้ข้อมูลสิ่งใดมาต้องรู้จักวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ได้ยิน ได้รู้มานั้นมีความถูกต้องแค่ไหน ต้องมีใจที่หนักแน่นไม่เอนเอียง ไม่มีอคติ คือ ตัวเองต้องเป็นคนที่มีความยุติธรรมประจำใจนั่นเอง
การมีปัญญารอบรู้ดังกล่าวยังไม่พอเพียง ถ้าไม่รู้จักนำความคิด นำความรู้มาปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ เมื่อมีปัญหาใด ๆ ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้ในทันที
การมีปัญญารอบรู้ดังกล่าวยังไม่พอเพียง ถ้าไม่รู้จักนำความคิด นำความรู้มาปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ เมื่อมีปัญหาใด ๆ ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้ในทันที
2.
ความขยันหมั่นเพียรและกำลังใจเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน คนมีปัญญาแต่ขาดกำลังใจในการทำงาน งานก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะความที่ไม่กล้าตัดสินใจ ผู้บริหารควรกล้าคิดและกล้าทำงานใดที่ยากมีอุปสรรคมากเพียงใดก็ไม่ท้อถอย เมื่อลงมือทำสิ่งใดแล้วเกิดมีอุปสรรคย่อย ๆ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ใช้กำลังใจ ความมุ่งมั่น เพียรพยายาม สิ่งใดที่คิดว่ายาก
ลำบาก จะเบาบางลง ที่คิดว่าต้องใช้เวลานาน สิ่งเหล่านี้จะหมดไปในที่สุด ผลที่ตามมา คือความเชี่ยวชาญและผลสำเร็จได้ชื่อเสียงเกียรติยศเป็นกำลังใจให้ทำความดีต่อไป
3.
การจะเป็นนักบริหารที่สังคมยอมรับ ไม่ควรจะมีจุดด่างพร้อยในชีวิต ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม นักบริหารหลายคนหมดอนาคตในความเป็นผู้นำเพราะถูกจับได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่
หรือบางคนควรได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ในระดับสูง แต่เพราะได้มีการทำผิดพลาดเพียงเล็กน้อย แม้ไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้ต้องเสียตำแหน่งให้ผู้อื่นที่มีคุณสมบัติในการทำงานด้อยกว่า
แต่ประวัติส่วนตัวไม่ด่างพร้อย เป็นต้น
4.
นักบริหารต้องมีจิตใจเอื้อเฟื้อ พร้อมที่จะให้การสงเคราะห์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา
การให้จะผูกใจคนอื่นไว้ได้ การให้ในที่นี้รวมไปถึงการให้คำแนะนำ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเคล็ดลับในการทำงานต่าง ๆ
อย่างไม่ปิดบัง ให้อภัยเมื่อมีการผิดพลาดในการทำงานหรือมีการกระทบกระทั่งล่วงเกินกันจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เมื่อมีการให้อภัยก็ย่อมได้รับมิตรภาพคืนมา ยิ่งถ้าเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
พูดแต่สิ่งดีงาม ไพเราะ อ่อนหวาน มีความจริงใจ และเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายก็สามารถมัดใจได้ดีเช่นกัน หรือการทำตัวให้เป็นประโยชน์ในทางหนึ่งทางใด เช่น ให้การช่วยเหลือ เมื่อได้รับการร้องขอ หรือการสงเคราะห์ด้วยความเมตตา การกระทำเหล่านี้ ควรทำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ชื่อว่าเป็น “ผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ยอดเยี่ยม”
นักบริหารจึงต้องมีพรหมวิหารธรรม คือ ธรรมสำหรับผู้ใหญ่ 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และสิ่งที่จะเพิ่มคุณภาพของผู้บริหารที่ดีอีกประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ การมีบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งการมีบุคลิกดีนั้นเกิดได้ภายใน คือ จากใจเป็นบุคลิกส่วนตัวทางหนึ่ง และภายนอก คือ
การแต่งกายที่ถูกกาลเทศะ การระมัดระวังกิริยา มารยาท เหล่านี้จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้บริหารได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและคุณภาพอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ “ข้าราชการ” จะต้องมีวิสัยทัศน์
และร่วมกันดำรงความมั่นคงรุ่งเรืองของบ้านเมือง โดยมีวิจารณญาณ มีคุณธรรม
มีความเสียสละและมุ่งมั่นปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ตามแนวทางที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทย ทรงตรัสไว้ว่า “ข้าราชการมิใช่อภิสิทธิ์ชน หากแต่จะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม” ให้เป็นอนุสติเตือนใจถึงคุณค่าแห่งความเป็นข้าราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นหลักเกียรติศักดิ์ที่ยังยืนแก่สถาบันข้าราชการสืบไป
อย่างไรก็ตามในมาตรการสร้างคุณธรรมนั้น องค์กรจะต้องพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีจิตสำนึก มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกสรรบุคลที่พร้อมจะรับการพัฒนา
ในขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาระดับสติปัญญา ลักษณะบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และระดับจิตสำนึกพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมา นอกจากนี้ยังจะต้องเป็นผู้ที่พร้อมที่จะยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะรับการพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับการยอมให้ความร่วมมือให้ผู้อื่นพัฒนาให้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมแก่ผู้บริหารให้เกิดความมั่นคงขึ้นในสังคมไทยต่อไป
การที่ผู้บริหารโรงเรียนมีคุณธรรม
จะเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดขวัญและกำลังใจ
รู้สึกว่าตนเองมีความมั่นคง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติงานในองค์กรสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันคุณธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป
จึงควรให้มีการปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดกับบุคคลทุกๆ
คนซึ่งในเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 ได้มีพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวกับคุณธรรมที่เราคนไทยทุกคนควรศึกษาและนำมาปฏิบัติรวม 4 ประการ คือ
1. การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง
ฝึกใจตนเองให้ประพฤติอยู่ในความสัจความดีนั้น
3. การอดทน อดกลั้นและอดออม
ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
สำหรับคุณธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนไม่ได้มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องยึดถือคุณธรรมหรือต้องมีคุณธรรมใดบ้าง
แต่ลักษณะซึ่งแสดงคุณธรรมที่ผู้บริหารโรงเรียนควรยึดจะปรากฏอยู่ในหลักของศาสนาทุกศาสนา
ระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง จรรยา และวินัยของข้าราชการครู ซึ่งโดยสรุปแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีคุณธรรมในเรื่องต่อไปนี้
เป็นพื้นฐาน คือ
1. มีเมตตา กรุณา ต่อผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2. มีความเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน
3. ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ร่วมงาน
4. มีความยุติธรรม มีเหตุผล และวางตัวเป็นกลางอย่างสม่ำเสมอ
5. มีความรักและห่วงใยผู้ร่วมงาน
6. ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อหน่วยงาน และผู้อื่น
7. มองโลกในแง่ดี
8. ยึดระบบคุณธรรมในการบริหารงาน
คุณธรรมดังกล่าวข้างต้น
เป็นเรื่องที่ยอมรับจากสังคมและเป็นความคาดหวังทั้งของทางราชการและสังคมที่จะได้เห็นข้าราชการไทยประพฤติปฏิบัติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารโรงเรียนในฐานะ “ครู” ด้วยแล้ว ก็ยิ่งคาดหวังสูงกว่าข้าราชการในตำแหน่งอื่น ๆ เพราะการดำรงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นทั้งครูและผู้บังคับบัญชา
จึงจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติทั้งในด้านคุณธรรมและหน้าที่การงานแก่ผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อ “ครองงาน” ได้ แต่ผู้บริหารจะไม่สามารถ “ครองตน” และ”ครองคน” ได้เลย
ถ้าหากผู้บริหารขาดคุณธรรม
แหล่ง : รศ.ดร.อัญชลี
โพธิ์ทอง และ รศ.ดร.สมศักดิ์
คงเที่ยง ภาควิชาการบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา
บทความ “ ความกล้าทางจริยธรรมของผู้นำการศึกษา
“ โดย ประชุม โพธิกุล สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
กล่าวถึง จริยธรรมของผู้นำทางการศึกษา
ดังนั้น ผู้นำจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจ
และใช้ความเป็นผู้นำทางจริยธรรม โดยมุ่งเน้นตามข้อแนะนำต่อไปนี้
1. พัฒนาวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับปรัชญา
การจัดการศึกษาที่ดี ผู้บริหารที่ไม่มีวิสัยทัศน์บนพื้นฐานทางปรัชญา
การจัดการศึกษา ดูเหมือนจะทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจและการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ทางการเมืองจะมาคุมการปฏิบัติผล
ก็คือจุดมุ่งหมายกลายเป็นวิถีไป
ผู้บริหารต้องมีเหตุผลในการปฏิบัติ เขาต้องมีเหตุผลอ้างอิงสนับสนุนได้ในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์
เหตุผลอยู่บนพื้นฐานของหลักการมิใช่อารมณ์ หรือการหยั่งรู้ ผู้บริหารต้องยืนอยู่บนหลักการที่สามารถทดสอบได้ผู้บริหารต้องค้นหาปรัชญาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย
และบุคลิกลักษณะส่วนตัวของเขา
2. เป็นผู้นำทางด้านคุณธรรมอย่างแข็งขันผู้นำทางการศึกษาควรสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในโรงเรียน
บรรยากาศทางจริยธรรมมิใช่เป็นการประมวลกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย แต่เป็นเรื่องเจตคติที่เหนือกว่า
ซึ่งต้องรับผิดชอบให้สอดคล้องกับการปฎิบัติอย่างรอบครอบการตัดสินใจในแต่ละครั้ง ผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศทางจริยธรรม ถ้าผู้บริหารไม่เอาผิดกับการสอนที่ย่ำแย่
เป็นบรรยากาศของการสนับสนุนเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการยอมรับการฉ้อฉลต่อชุมชนและนักเรียน
ผู้บริหารที่ไม่เอาผิดกับนักเรียนที่ขาดเรียนก็เท่ากับโรงเรียนไม่มีความสำคัญ ผู้บริหารต้องถามและตอบคำถามนี้
ทำไมโรงเรียนจึงต้องจัดตั้งขึ้น เราต้องประสบผลสำเร็จในเรื่องอะไร พันธกิจอะไรที่โรงเรียนต้องทำเพื่อนักเรียนและชุมชน พฤติกรรมของนักเรียนและครูเป็นเช่นไรที่มีความสำคัญต่อชุมชนของโรงเรียน คำตอบคำถามเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบบรรยากาศทางจริยธรรมของโรงเรียน
3. การแบ่งแยกควรอยู่ในภาวะที่ควรถูกตำหนิการแบ่งแยกเกิดขึ้นในรูปแบบที่ละเอียดอ่อน
การเลือกที่รักมักที่ชังเกิดขึ้นในห้องพักครูที่ซึ่งสังเกตเห็นเป็นเชิงลบได้ถูกละเลยในห้องแนะแนวนักเรียนที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ควรได้รับการส่งเสริมวิชาชีพมากกว่าศึกษาต่อทางวิชาการและในชั้นเรียนการดูหมิ่นได้รับการเพิกเฉย
ผู้บริหารต้องไม่อดทนกับการแยกที่รักมักที่ชัง
ผู้บริหารต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องจริยธรรม และเป็นประเด็นทางการศึกษา
วิธีเดียวที่จะทำให้ ครู นักเรียน ชุมชนมีความตระหนักในเรื่องนี้สูงขึ้นก็โดยการพัฒนาบุคลากรผ่านมาเป็นนโยบาย
การสร้างเจตคติมีการปฏิบัติ มีการตรวจสอบติดตาม
4. การสอนที่ดีเป็นหน้าที่
การสอนที่ย่ำแย่ทำร้ายนักเรียน ทำลายครูที่สอนดี และทำร้ายชุมชน ครูที่ย่ำแย่ผิดพลาดในการจำแนกนักเรียนตามฐานความรู้ของนักเรียนส่งผลให้บรรยากาศในโรงเรียนไม่ดี
ทำลายครูที่ทำการสอนดี ผลการสอนของครูที่ย่ำแย่ส่งผลถึงการดำเนินชีวิตของนักเรียน
ผู้บริหารต้องรักษาดุลยภาพของสิทธิต่าง ๆ ของครูและสิทธิต่าง ๆ ของนักเรียนและสิทธิของชุมชน
นักเรียนไม่มีพลังอำนาจที่จะเปลี่ยนครู
นักเรียนต้องพึ่งพาผู้บริหารที่จะแน่ใจได้ว่า ครูที่มีพฤติกรรมที่ย่ำแย่ควรได้รับการปรับปรุงหรือขจัดออกไป
ในการจัดการครูที่มีพฤติกรรมการสอนที่ย่ำแย่
ผู้บริหารมีภาระหน้าที่ในการปฏิบัติในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนและชุมชน
5. ผู้บริหารคือผู้สร้างชุมชน คนส่วนมากไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โรงเรียนผิดพลาดในการที่ไม่รวมชุมชนเข้ามาอยู่ในโครงสร้างของโรงเรียน เป็นผลให้ชุมชนไม่มีความรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนนึ่งของชุมชน
หรือเป็นภารกิจที่สังคมต้องช่วยดูแล เนื่องจากไม่มีตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ
ของโรงเรียนและชุมชน เมื่อไม่มีความรู้สึกร่วมของชุมชนต่อกลุ่มต่าง ๆ ของโรงเรียน ก็ยิ่งดูเหมือนเป็นการทำงาน
ด้วยรูปแบบของการเผชิญหน้าและความขัดแย้งมากกว่าความร่วมมือ และความร่วมจิตร่วมใจ
ผู้บริหารที่ดีสร้างชุมชนเขาจะวาดมโนภาพว่าโรงเรียนเป็นหน่วยเดียวกับชุมชนที่ซึ่งกลุ่มต่าง
ๆ จะมีความร่วมมือ โรงเรียนต้องสร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น สถานที่เชิญชวนเพราะครูและนักเรียนมีความรู้สึกมีความต้องการ
ชุมชนของโรงเรียนยอมรับในคุณค่าภายนอกของสมาชิกต่าง ๆ ดังนั้นการแบ่งแยกการหลอกลวง
การไม่เคารพนับถือจึงไม่มีในโรงเรียน
การทำงานเพื่อสร้างชุมชนด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วมกันการสร้างค่านิยมร่วมเป็นเป้าหมายเบื้องต้นของผู้บริหารที่มีจริยธรรม
6. รักษาดุลภาพของสิทธิของทุกกลุ่ม เป็นความยากลำบากในการรักษาดุลยภาพในสิทธิต่าง
ๆ ของกลุ่มที่มีความแตกต่างอย่างมากมายภายในชุมชนของโรงเรียน
ผู้บริหารอาจหาวิธีการที่ง่าย ๆ ที่มุ่งไปที่คนกลุ่มใหญ่
สนับสนุนให้เขามีความมั่นใจเสมอในทางตรงกันข้าม
สิทธิของชนกลุ่มน้อยก็ต้องไม่เกิดความสูญเสียด้วย เมื่อสิทธิของคนส่วนใหญ่แยกออกจากสิทธิของคนส่วนน้อย
ประเด็นทางจริยธรรมจะเกิดขึ้น
ผู้บริหารต้องวินิจฉัยแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานของข้อแนะนำทางจริยธรรม
ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล รักษาดุลยภาพสิทธิของกลุ่มใหญ่กับคนกลุ่มน้อย ดุลยภาพจึงเป็นเรื่องที่ยากจะบรรลุประสิทธิภาพ
ผู้บริหารต้องกำหนดกรอบการตัดสินใจในสภาพแวดล้อมของสิทธิของการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อโรงเรียน
หน้าที่ของโรงเรียนคืออะไรในสังคมประชาธิปไตยที่มอบให้ตามสถานการณ์
บทเรียนอะไรที่สามารถเรียนรู้จากสมาชิกของชุมชนจากการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นก็คือสิ่งใดที่เป็นสิทธิในกรอบความรับผิดชอบของผู้บริการ
7. ปฏิบัติในประเด็นที่ถูกต้องแต่อาจไม่ถูกใจคนส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่ผู้บริหารต้องแยกระหว่างความทันสมัยกับความถูกต้องทางจริยธรรม
ผู้นำทางจริยธรรมจะไม่มีปัญหาในสิ่งที่ถูกต้องกับความทันสมัยจะเป็นเหมือนเหรียญคนละด้าน อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งเมื่อประเด็นเหล่านี้ไม่เป็นเหมือนเหรียญคนละด้านหลายสถานการณ์อาจเป็นประเด็นทั้งคู่สนับสนุนเพื่อคนส่วนน้อยและรับหลักการของทิศทางการศึกษาใหม่
ผู้นำที่ชาญฉลาดจะสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ตรวจสอบทุกด้านและใช่ดุลยพินิจพิจารณาจากหลักธรรมที่มีอยู่ ตัวอย่างในการให้ข้อเสนอแนะโค้ชที่เบี่ยงเบนเพราะโค้ชโกรธคนที่ใช้อิทธิพลเสนอแนะประเด็นทางจริยธรรมในขณะกำหนดประเด็นต่าง
ๆ ของหลักสูตรอาจจะเป็นปัญหาทางความคิดเห็น และเนื้อหาวิชาเพื่อการประนีประนอม
8.
การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสมาชิกของชุมชนของโรงเรียน
ผู้บริหารคือผู้ตัดสินใจบนพื้นฐานว่าอะไรคือ สิ่งที่ถูกต้องขององค์การหรือลืมไปว่าองค์การตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของสมาชิก
ดังนั้นโรงเรียนจึงมิได้รักษามุมมองว่าส่วนนี้ไว้ จึงเฉยเมินกับเสียงบ่น
ใช้ความวกวนของระบบราชการหลีกหนีคำวิจารณ์ ไม่พิจารณาความต้องการของนักเรียน มีงานให้บุคลากรในองค์การทำเท่านั้นพอ
ผู้บริหารที่ดีต้องมีเป้าหมายเบื้องต้นในการให้บริการ เป้าหมายการให้บริการคือต้องยึดคำถามที่ว่าเราจะมีวิธีช่วยสมาชิกอย่างไร
เราสมารถปรับปรุงวิธีการที่จะช่วยสมาชิกของเราอย่างไร ต้องริเริ่มโดยเชิญผู้ปกครองกลับมาโรงเรียน
ความมุ่งมั่นในการให้บริการต้องการให้ผู้บริหารประเมินโรงเรียน
ประเมินสมาชิกและประเมินโปรแกรมที่เราส่งมอบและให้ความช่วยเหลือ
9. สร้างความกล้าทางจริยธรรม ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของผู้บริหาร
ผู้บริหารจะขาดความกล้าทางจริยธรรมไม่ได้
ผู้บริหารสามารถอ้างสิทธิในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม แต่ถ้าเขาพลาดที่จะทดสอบ เมื่อเผชิญหน้ากับผู้ปกครอง สมาชิกของคณะกรรมการ ศึกษานิเทศก์
เขาขาดความกล้าทางจริยธรรม ผู้บริหารที่รับแรงกดดันจะทำลายมาตรฐานทางจริยธรรม
ผู้นำต้องมีความกล้าทางจริยธรรมที่จะกล้าต่อต้านหรือกล้าพูดคำว่าไม่ได้
ผู้บริหารต้องมีจุดยืนสอดคล้องกับหน้าที่ พันธกิจ ความรับผิดชอบตามบทบาท
โดยสรุปผู้บริหารไม่อาจพึ่งพาคณะกรรมการหรือหวังที่จะให้คนอื่นช่วยตัดสินใจในพันธกิจของท่าน
ท่านต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอันเป็นบทบาทของผู้บริหาร
10. สื่อให้เห็นว่าสิ่งที่พูดกับสิ่งที่ทำบูรณาการเข้ามาในหน้าที่ของตนเอง เพราะโรงเรียนจะไม่มีบรรยากาศทางจริยธรรม ถ้าผู้บริหารไม่สื่อค่านิยมทางจริยธรรมผู้บริหารต้องกำหนดกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมของชุมชน
และสังคม กฎเกณฑ์นี้ต้องสื่อทุกวัน
สิ่งแวดล้อมทางจริยธรรมจะบรรลุผลผ่านการตัดสินใจเป็นพัน ๆ
ครั้งตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
ผู้นำทางจริยธรรมมีความหมายเดียวกับโรงเรียนที่ดี
ผู้บริหารที่มีจริยธรรมต้องสนใจว่าเงินที่ใช้นั้นใช้อย่างถูกต้อง บุคคลได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ครูสอนอย่างดี โค้ชสอนผู้เล่นให้เล่นหนักและยุติธรรม หลักสูตรต้องพัฒนาตามความต้องการทางสังคมท่านต้องรับผิดชอบนักเรียน ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในกระบวนการของโรงเรียนผู้บริหารที่ดีต้องมีจริยธรรม
สรุป คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักบริหารในสถานศึกษา
จากที่ได้ทำการศึกษามาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า
คำว่า คุณธรรม จริยธรรม
สองคำนี้เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านของคุณงามความดี กล่าวคือ
จริยธรรมคือความประพฤติถูกต้องดีงาม ทั้งกายและวาจา คุณธรรมและจริยธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี
เพราะคุณธรรมและจริยธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์ทั่วไป
และจากผลของการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดของนักปราชญ์
มีนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยาและนักบริหาร พบว่า มนุษย์มีคุณธรรมและจริยธรรมที่แตกต่างกัน
มีทั้งดี เลวและไม่ดีไม่เลว
ระดับคุณธรรมและจริยธรรมของมนุษย์แต่ละคนอาจมีติดตัวมาแต่เกิด หรือมาพัฒนาได้ในภายหลังจากสภาพแวดล้อม
การอบรมเลี้ยงดู และกรอบประเพณี สังคม
จากการศึกษาพอได้แนวคิดว่าทุกคนต่างมุ่งหวังสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดแห่งตน
ซึ่งสภาวะแห่งความสมบูรณ์ที่สุดเป็นสิ่งที่อยู่ในความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ที่จะสามารถดำเนินไปได้ด้วยตนเอง
แต่เขาจะต้องรับผิดชอบต่อการเสริมสร้างชีวิตตนเองให้พัฒนาสูงขึ้นสู่ระดับที่ดีกว่า
สูงกว่า แต่มนุษย์ขาดคุณธรรมในตนเอง
จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นสู่ความสมบูรณ์ของชีวิตได้ มนุษย์ขาดจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ปล่อยตัวเองเป็นทาสของอารมณ์ ความอยาก กิเลสตัณหา ตลอดเวลา หากมนุษย์สร้างจิตสำนึกให้มั่นคงและหนักแน่นได้แล้วก็จะเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ต่อไป
ดังนั้นผู้บริหารในสถานศึกษาที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมควรต้องศึกษาข้อคิด
คติธรรมและหลักคำสอนทางศาสนา เพื่อทำความเข้าใจกับหลักธรรมนั้นๆเป็นเบื้องต้น
แล้วนำไปคิดวิเคราะห์พิจารณาปรับใช้ให้เหมาะกับภารกิจของผู้บริหาร เช่น ภารกิจในฐานะผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชนหรือสังคม
ภารกิจของผู้วางแผน กำหนดนโยบาย จัดองค์การ บริหารบุคคล ฯลฯ
ล้วนต้องอาศัยหลักธรรมในการประกอบควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถทั้งสิ้น
จึงควรศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมหลักธรรมแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ ท่านก็จะได้ชื่อว่า
เป็นผู้บริหารที่มีทั้งคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และมีคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมอย่างแท้จริง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น