ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มือใหม่หัดเทศน์


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺสฯ
วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา  อวิวาทญฺจ เขมโต สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทธานศาสนีติฯ
ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัยและความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
ขอกราบนอบน้อมแด่พระรัตนะตรัย มีพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ขอถวายความเคารพท่านเจ้าอาวาส พระเถรานุเถระทุกรูปทุกท่าน และขอเจริญพร good afternoon ญาติโยมทั้งหลาย โดยเฉพาะคณะท่านเจ้าภาพก๋วยเตี๋ยวและกัณเทศน์ในวันนี้ นำโดยมหาอุบาสิกา แม่นงค์สุทธิเสน คุณแม่เพรชสมร คงหอม หรือที่ญาติโยมหลายๆท่านเรียกกันว่าคุณนายมะอึ ซึ่งอาตมาคิดว่าวันนี้ใช้ชื่อนี้คงไม่เหมาะหากจะตั้งชื่อใหม่ให้ว่าคุณนายบุญรวยชื้อนี้ก็มีคนใช้แล้ว เป็นคุณนายบุญสวยนั่งอยู่บริเวณนี้ก็มีอยู่หลายคน งั้นวันนี้ก็เป็นคุณนายบุญทุ่มไปสักวันก่อนเด้อจ้าโยมแม่เพรชสมร และคนสุดท้ายที่ไม่เอ๋ยถึงบ่ได้เลยคือคุณโยมรุจิรา เกร์เซอร์หรือโยมพี่นิกกี้ วันนี้ถึงกัณเทศน์จะไม่เยอะอาตมาก็ไม่ติ แม้นได้เยอะอาตมาก็ไม่ฮิเด้อจร้าเด้อ  วันนี้เป็นวันพระ เป็นวันธรรมัสวณะ ซึ่งตรงกับวันพุธ ที่ ๒๐ เดือน กันยายน  ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑   ลำดับต่อไป อาตมภาพ จักได้รับประทานแสดงพระสัทธรรมเทศนา ในพระธรรมคาถา พรรณนาถึงประโยชน์ของความไม่วิวาท จนกว่าจะยุติลงด้วยเวลาสืบต่อไป    ตามพุทธสุภาษิตนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนให้พุทธสาวกได้มองเห็นโทษของความทะเลาะวิวาท เพราะเหตุจากอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุแห่งความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง  และให้มองเห็นอานิสงส์ของการไม่ทะเลาะวิวาทกัน ก็เท่ากับว่าพระองค์สอนให้มนุษย์เป็นผู้มีความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การมีความรักความสามัคคีกันนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน เนื่องจากความรักและความสามัคคีนั้นเป็นปัจจัยในการสร้างสันติภาพให้กับชุมชน ประเทศชาติ และโลกได้อย่างไม่มีปัจจัยอะไรอื่นมาเทียบเท่า ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตข้างหน้า หากเมื่อผู้คนทะเลาะวิวาทกันหรือแม้แต่พวกสัตว์เดรัจฉานทะเลาะกัน ก็จะก่อให้เกิดความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตหรือทรัพย์สิน สงครามโลกหรือสงครามระหว่างประเทศ หรือแม้แต่ความไม่สงบภายในองค์กรต่างๆก็ตาม ที่เกิดมีขึ้นมานั้นก็เกิดมาจากการทะเลาะวิวาทไม่ยินยอมกันของกลุ่มคนนั่นเอง ท่านจึงจัดว่าเป็นภัยคือสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างมาก เพราะก่อความทุกข์และความสูญเสียให้เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับการไม่ทะเลาะวิวาทกัน มีแต่ความรักความสามัคคีกัน จะส่งผลให้ผู้คนได้รับความสุข ความเจริญ ความมั่นคงก้าวหน้าอยู่สม่ำเสมอทุกๆ ด้าน เช่น ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านสังคม ตลอดถึงด้านการเมืองการปกครองของประเทศชาติ ซึ่งเราท่านทั้งหลายก็คงทราบกันดี จากหลากหลายเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยของเรา ฯลฯ ท่านสาธุชนทั้งหลาย ความวิวาทนั้น มีโทษ โดยส่วนเดียว หาประโยชน์มิได้เลย ควรที่บัณฑิตจะงดเว้น    และเป็นของสำหรับคนพาลจะสรรเสริญ    เพราะบุคคลใดชุมชนใดก็แล้วแต่ มองเห็นประโยชน์ของการไม่วิวาท สังคมนั้นก็มักจะอยู่กันด้วยสันติสุข แต่ว่าสังคมใดมองเห็นว่า การนินทา ความวิวาท การทะเลาะ เบาะแว้ง เป็นต้นนั้น เป็นประโยชน์ เป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินสังคมนั้นๆ ก็จะย่ำแย่ไปตามลำดับ แม้ในคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ก็ทรงประสบกับปัญหา แห่งการทะเลาะเบาะแว้งอยู่บ่อยครั้ง จนถึงขนาด ต้องทรงหลีกเร้นไปประทับอยู่ในป่าเพียงลำพังพระองค์ก็เคยมีมาแล้ว  นั่นก็แสดงให้เห็นว่า การวิวาทนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญเลย
ดังนั้น การไม่ทะเลาะวิวาทกัน การมีความรักความสามัคคีพร้อมเพรียงกันเมื่อมีการไม่ลงรอยกัน เพราะความคิดเห็น หรือการกระทำอันใดอยู่บ้าง มนุษย์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐจึงควรจะมีความประนีประนอมกัน ปรับความเข้าใจ ให้อภัย ไม่จองเวรกัน ยกตัวอย่างเช่น อาตมาภาพ โดนรุ่นพี่กรั่นแกล้ง กระทำให้อาตมาภาพต้องเจ็บซ้ำน้ำใจอยู่บ่อยครั้ง เมื่อนึกถึงความดีที่พอจะมีอยู่บ้างที่ท่านเหล่านั้นได้เคยกระทำให้แก่อาตมา อาตมาภาพยังสามารถให้อภัยได้เลย ใช่ไหมครับท่านอ้วน นี่ก็จัดได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนข้อนี้ และจะได้รับอานิสงส์ที่ดีอย่างแน่นอน. ท่านทั้งหลายที่ทราบดังนี้แล้ว จงอย่าได้พอใจในความวิวาทกันเลย จงอย่าเห็นประโยชน์ในความวิวาท จงเห็นประโยชน์ของความสามัคคี ดังที่ สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเอาไว้ว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
แปลความว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่นำมาซึ่งความสุข นักปราชญ์คือสิแม่นแถวๆบ้านอาตมาทางอุบล อุดร ขอนแก่น คันบ่แม่นกะสิเป็นสาระคามพู้นละตี้ น้อโยมพี่นิ้กกี้ เผิ้นได้ประพันธ์เป็นคำกลอนสอนไว้ว่า  "ให้ฮักแพงกันไว้...คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่ อย่าสิเพแตกม้าง....คือน้ำถืกข้าวเหนียว"   "ให้เฮาสามัคคีไว้..คือฝนแสนห่า  ไหลลงมาจากฟ้าไหลตุ้มโฮมหนอง"
"ให้ฮักแพงกันไว้..อย่ามัวแตกสามัคคี  โตอย่างเคยมีมา..ว่าแตกแตนแลนม้าง เป็นเพราะผู้นำนั้น..ปีนเกลียวชิงอำนาจ ช้างใหญ่แหล่นฆ่า...หมาน้อยแหล่นตาย"
ยังมีนายพรานเฒ่า มือฉมังห่างนกป่า  คอยออกล่า ดักห่าง จับนกขาย  มื้อนึง เลาย่างย้าย เลาะเลียบป่าละเมาะ ประจวบเหมาะเห็นนกกระจาบหลาย ฝูงใหญ่แท้
แลเห็นแล้ว มื้อลุนลอบขึงข่าย หมายจับนกฝูงนี้ ขายเลี้ยงครอบครัว ฝูงนกมัวกินข้าว แซบหลายสบายผุ่ง ลืมระวัง ภัยฮ้าย พวมใกล้ กายมา
ได้เวลาเหมาะแล้ว พรานกะดึงสลักข่าย  จับนกได้ หลายแล้วก็ต่าวเมือ  กล่าวถึงนกกระจาบเซื้อ หัวหน้าหมู่ผู้พญา บินตรวจตราสังเกตพบ บริวารลดเหลือน้อย
จึงเผยถ้อย วาจาต้านกล่าว  "บริวารของเฮา คือมาลดเหลือน้อย เป็นย่อนเหตุหยัง?" เมื่อได้ฟังคำต้าน บริวารขานกล่าว "ถืกนายพรานดักเอา ติดข่ายเลาทุกมื้อ จึงเหลือหน่อย ลดถอย"
พญานก ได้ฟังถ้อย คำตอบบริวาร คิดสงสารหมู่นก ที่ตกตายมลายม้าง จึงบอกทางสำหรับรอด ปลอดภัย หนีจากข่าย "นับแต่นี้ต่อไป ให้หากินเป็นหมู่พร้อม เพรียงเพียบสามัคคี
ให้มีนกหัวหน้า นำฝูงทุกหนแห่ง อย่าสุได้แก่งแย่ง แตกม้างทะเลาะกัน หากนายพรานดักได้ ติดข่ายใหญ่ให้โฮมกัน  ร่วมประสานแฮงกาย บินยอข่ายยกขึ้นฟ้า
แล้วให้พากันขึ้นสู่ปลายยอดไผ่ ข่ายสิติดยอดไม้ ปลอดภัยแล้วให้บินหนี สามัคคีคือทางรอด คือพลังอันยิ่งใหญ่ หมู่นกเอ๋ยจงจำไว้ นำไปใช้ ให้เกิดผล (เด้อ)"
ตั้งต้นแต่มื้อนั้น ฝูงนกสามัคคี โฮมพลังกันยอข่ายค้างปลายไม้ พากันบินหนีได้ปลอดภัยทุกๆเทื่อ ได้คืนเมือต่าวบ้าน ย่อนเพรียงพร้อมสามัคคี แสงสุรีย์โชติ ทอทาบ พนาพฤกษ์
กาลเวลาทาบทอบ่รอยั้ง อนิจจัง สังขารนี่ บ่จีรัง บ่มั่นแก่น สัตว์ก็เวนเวียนว่าย วนรอบวัฏฏะวน โดนนานได้ มื้อใหม่ต่อมา ฝูงนกบินถลา โผผินลงกินข้าว โตนึงถืกลมน้าว ซวนเซ บินเป๋ป่าย
เสียหลักไปถืกต้อง ตีนเหยียบหัวอีกโต  นกโตนั้น หัวสักกะเทียมจิ่น ปิ้นลุกขึ้น สูนเคียด อย่างแฮง นกก็แวงโวฮ้อง ป้อยด่าห่ากินหัว บังอาจเหยียบหัวกู ลบหลู่ด้วยบาทเท้า
นกเสียหลักกะเว้า เฮาบ่ได้ตั้งใจ เหยียบหัวไผจักกะหน่อย เป็นหยังจั่งได้ป้อย ด่าข้อยให้เสียหาย
บ่อยากอายชาวบ้าน วงศ์วานนกกระจาบ หลาบแล้วข้อย บ่ขอร่วม เสวนา นกหัวหน้า ได้ตักเตือน ว่ากล่าว ให้พากันคิดยาวๆ อย่าสะคิดสั้นๆ ให้หันหน้า จาระนัย ให้อภัย อดโทษ อย่าโกธา เคืองขุ่น
ให้เมตตาการุณ ซ่อยเกื้อกูลกันไว้ ฮักมั่นแพงกัน แต่ว่านกสองโตนั้น เคียดให้กัน แม่นบักใหญ่ ต่างบ่ยอมอภัย ถกเถียงกันพร้อมด่าป้อย เพม้างแตกกัน หมู่สหายนกสองโตนั้น ก็แตกกันเป็นสองฝ่าย
บ่ลงรอยกันได้ มัวอ้างว่าโตดี หัวหน้านกโศกีเศร้า มองเห็นภัย สิกายผ่าน จึงได้พาบริวาร ผู้เชื่อคำโอวาทบินผาดผ่ายหนี นกอวดดีสองฝ่ายก้ำก็หากินสืบต่อ พอมาฮอดหม่องห่าง ดางด้าย ข่ายแห
นายพรานแลเห็นแล้ว ได้ทีจึงลงข่าย ข่ายกะคุมครอบไว้ เหมิดเกี้ยงกระจาบฝูง นุ่งนังเหน่งเกี่ยงกันอวดเบ่ง คันว่าสูเก่งแท้ ให้บินขึ้นฝ่ายเดียว เบิ่งดู้นกอวดรู้ อวดเก่ง ติดในดาง
ขาดความสามัคคี บ่ห่อนบินหนีได้ ถืกนายพรานจับไว้ เอาไปขายฆ่าแกงอ่อม ตายเหมิดฝูง ย่อนบ่พร้อมทะลายม้างสามัคคี นี่ล่ะน้อพี่น้อง คองผญาเพิ่นพาว่า "ให้สามัคคีกันไว้ คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่   อย่าได้เพแตกม้าง คือน้ำถืกข้าวเหนียว ให้กลมเกลียวเหนียวแน่น สามัคคีตั้งต่อ   อย่าได้ก่อเภทฮ้ายทะลายม้างแตกกัน"  รับประทานวิสัชชนา ในเรื่องโทษของความวิวาท ก็เห็นจะสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติ ยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เทสนา วสาเน ในท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้อาตมาภาพขออ้างเอาคุณแห่งพระรัตนะตรัย อำนวยอวยชัยให้คณะท่านเจ้าภาพกัณเทศน์ และญาติโยมทุกๆท่านจงมีสุขภาพพลานมัยแข็งแรง ปราศจากทุกข์โสกโรคภัย อันตรายทั้งหลายทั้งปวงด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระประจำวันเกิด ภาษาอังกฤษ english version

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ THE ANLYTICAL STUDY OF THE VENERABLE BUDDHADASA’S THE LITERARY WORK OF HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU โดย พระประสิทธิ์ ปภาธโร ๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เมื่อครั้งพ่อขุนรามมหาราชโปรดให้จารึกบนแผ่นศิลา ซึ่งเรียกกันว่า “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง” ซึ่งมีเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับศาสนธรรม ศาสนประวัติ ศาสนพิธี ศาสนวัตถุแทรกอยู่ และต่อจากนั้นมาก็มีวรรณกรรมทางศาสนาติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา วรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณกรรมสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งแตกต่างกับวรรณกรรมสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณกรรมในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเรื่อ

แปลหนังสือสุทธิ english version

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่าน