สรุปหลักการและวิธีการในการบริหารงานของตนเอง
หลักการบริหารงาน
หลักของการบริหารงาน ตามแนวความคิดของอาตมาภาพ ซึ่งสรุปได้มี
5 ประการ ดังนี้
1.หลักของการปฏิบัติงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
หรืออาจกล่าวสั้นๆว่า การทำงานต้องมีเป้าหมายชัดเจน คือว่ากิจกรรมของกลุ่มต้องมีเป้าหมายเดียวกัน
และจะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกันตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในที่สุด
ประการที่
2 หลักของการแบ่งงานกัน การแบ่งงานกันตามถนัด
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของบุคลากรในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประการที่
3 หลักความมีระเบียบวินัย การยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิกภายในองค์การ
โดยมุ่งให้เกิดความเคารพ เชื่อฟังและทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ
โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความยุติธรรมและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
ประการที่
4 หลักของการให้ผลตอบแทน ต้องมีความยุติธรรมและให้เกิดความพอใจ
และประโยชน์มากที่สุด แก่ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง
ให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมได้
ประการที่ 5
หลักประโยชน์ของส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ของส่วนรวม เป้าหมาย ผลประโยชน์
และส่วนได้เสียของส่วนรวมหรือ ขององค์การ
จะต้องมีความสำคัญเหนือกว่าเป้าหมายส่วนบุคคล หรือของส่วนย่อยต่างๆ
แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร คนงาน และกลุ่มต่างๆ โดยยึดถือหลักความความสามัคคีและเป็นธรรมเพื่อจะให้เกิดการบรรลุเป้าหมายขององค์การเป็นอย่างดีภายในทิศทางเดียวกัน
การนำหลักการบริหารทั้ง
5 ประการมาใช้ในการบริหารงาน เชื่อว่า
การบริหารงานย่อมบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
วิธีการในการบริหารงาน
ผู้บริหารยุคใหม่ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด
แนวทางในการดำเนินงาน
วิธีการปกครองซึ่งเป็นวิธีการที่ยากสำหรับหลายๆคนเพราะส่วนใหญ่คิดว่าตนเองคือผู้ที่มีอำนาจสามมารถกระทำการใดๆตามอำนาจอันชอบธรรมของตนซึ่งเป็นสาเหตุของการบริหารงานที่ล้มเหลว
วิธีการในการบริหารงานตามแนวความคิดของอาตมาภาพ ซึ่งสรุปได้มี 5 ประการ ดังนี้
หน้าที่ของผู้บริหารต่อผู้ใต้บังคับบัญชาคือ
1.ยกย่อง
ผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อเขาทำงานดี มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แนะนำเปิดเผยไม่ปิดบังผู้อื่นถึงสิ่งที่เขาทำได้ถูกต้องหรือเกือบถูกต้อง
ยินดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเขาประสบความสำเร็จ
สนับสนุนให้พวกเขาสร้างสรรค์ผลงานที่ดีต่อไป และให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย
2.ไม่ดูหมิ่น
คือไม่ดูถูกผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตน
แต่ต้องสอนให้ โดยอธิบายถึงข้อผิดพลาดโดยเร็วที่สุดทันทีที่รู้
โดยปราศจากการตำหนิติเตียน แสดงผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดดังกล่าว
หากเหมาะสม ให้รับความผิดพลาดไว้เอง ที่ไม่ได้บอกถึงหน้าที่แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน
3.แสดงออกถึงความไว้ใจและความมั่นใจอย่างต่อเนื่องต่อ
ผู้ใต้บังคับบัญชานั้น
4.มอบความเป็นใหญ่ในการงาน
คือการมอบธุระหน้าที่ให้กับ ผู้ใต้บังคับบัญชาจัดการ รับฟังและทำตามความเห็นของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานที่เขาทำ โดยที่ผู้บริหารควรเฝ้าสังเกต
ผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ควรเป็นผู้บริหารที่เฝ้าจับผิด ผู้ใต้บังคับบัญชา
5.ให้รางวัล
ให้คำชม ให้กำลังใจ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี
เขียนโดยพระมหาถาวร กลฺยาณเมธี (บุญสอน)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น